
ขอเชิญร่วมการสำรวจทบทวนภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลังฤดูการผลิตปี 2557/58
ด้วย สมาคมการค้าและผู้ผลิตมันสำปะหลัง 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย จะจัดให้มีการสำรวจทบทวนภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลังฤดูการผลิตปี 2557/58 ระหว่างวันทีี่ 26-29 เมษายน 2558 (สาย 1) และวันที่ 10 - 15 พฤษภาคม 2558 (สาย 2)
จึงขอเรียนเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมเดินทาง โดยแจ้งความจำนงค์ภายในวันที่ 7 เมษายน 2558 รายละเอียดกำหนดการตามไฟล์แนบ
.. สมาคมมันฯภาคอีสาน หนุน KOTAC /KOTAM บูรณาการร่วมหน่วยงาน พ.ด. ศวพ.
พัฒนา "ชุดตรวจค่าวิเคราะห์ดินเฉพาะมันสำปะหลัง" ดีเดย์จัดงาน kick off ม.ค. 58
นายมาโนช วีระกุล นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า จากผลการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานคณะทำงาน คลัสเตอร์มันโคราช (KOTAC) ร่วมกับหน่วยงานจากกรมพัฒนาที่ดิน (พ.ด.) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร (ศวพ.) กรมวิชาการเกษตร เครือข่ายสหกรณ์การเกษตร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมของสมาชิกโรงแป้ง ณ ที่ทำการสมาคมฯ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมานั้น
การประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับเกียรติจากทีมนักวิชาการ พ.ด. และ ศวพ. ในพื้นที่และส่วนกลางเข้าร่วมระดมความคิดเห็นกับสมาชิก KOTAC นำโดย ผอ.สมโสตถิ์ ดำเนินงาม ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ผชช.สุกิจ รัตนศรีวงษ์ จากกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมโรงแป้งเครือข่าย KOTAC ซึ่งได้ข้อสรุปแนวทางการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายใช้เป็นโมเดล ยกระดับผลผลิตเฉลี่ยมันสำปะหลังต่อไร่ และลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรไว้ด้วยกันทั้งหมด 5 เรื่อง ดังนี้.-
1. แนวทางการส่งเสริมใช้ปุ๋ยสูตรตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยระยะเริ่มต้นจะใช้ชุดตรวจดินจากหน่วยงานกระทรวเกษตรฯ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนระยะกลางจะใช้ระบบโมบายยูนิต และในระยะต่อไปจะพัฒนาให้เป็นชุดตรวจค่าวิเคราะห์ดินสำหรับมันสำปะหลังโดยเฉพาะเพื่อให้ได้ผลที่ใกล้เคียงและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย แนวทางจะส่งเสริมสมาชิกเครือข่าย KOTAC/KOTAM พิจารณาสร้างห้องแล็ปขนาดเล็กในโรงงาน และสหกรณ์การเกษตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรเครือข่ายแต่ละพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล ได้เก็บตัวอย่างดินจากแปลงเพาะปลูกของตน มาตรวจหาค่าวิเคราะห์ดินมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม สามารถรู้ผลภายในวันเดียวกัน พร้อมทั้งการแนะนำแหล่งจัดซื้อปุ๋ยสูตรตามค่าวิเคราะห์ดินให้แก่เกษตรกรได้อย่างครบวงจร
ซึ่งในการจัดเก็บดินจากแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรแต่ละรายนั้น นักส่งเสริมฝ่ายไร่ของ KOTAC แต่ละโรงงาน จะให้คำแนะนำง่ายๆ ในการใช้แอพพลิเคชั่นฟรี ที่มีอยู่บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนทั่วไป จัดเก็บข้อมูลพิกัดแปลงเพาะปลูกมันสำปะหลัง เพื่อรวบรวมจัดทำฐานข้อมูลและใช้ประโยชน์
ด้านการส่งเสริมเกษตรกรในระยะต่อไป
2. แนวทางส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดชนิดที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน ในแปลงเรียนรู้ แปลงต้นแบบของสมาชิกเครือข่าย KOTAC โดยปลูกมันสำปะหลังควบคู่กับการใช้ปุ๋ยพืชสด และนำเครื่องจักรกลขนาดเล็กที่เกษตรกรมีอยู่ มาประยุต์ใช้ไถกลบปุ๋ยพืชสดควบคู่กับการจัดการให้เหมาะสมกับขนาดร่องแปลงเพาะปลูกมันสำปะหลัง
3. เรื่องการใช้เทคโนโลยี
ไถระเบิดดินดาน ซึ่งในปีแรกสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ส่วนในปีที่สองและปีต่อๆ ไปในพื้นที่เดียวกัน จะต้องศึกษาวิจัยพัฒนาแนวทางการใช้เทคโนโลยีร่วมกับการจัดการดินดาน และถ่ายทอดวิชาการความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับเกษตรในแต่ละ
เครือข่ายของสมาชิก เพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในระยะยาว
4. เรื่องการเลือกใช้พันธุ์มันสำปะหลังให้เหมาะสมกับพื้นที่ แนวทางของสมาชิกเครือข่ายโรงแป้ง ลานมัน สหกรณ์การเกษตร ของ KOTAC/KOTAM จะจัดทำแปลงเรียนรู้โดยรวบรวมพันธุ์มันสำปะหลังที่ทางราชการรับรอง จำนวน 10 พันธุ์ ปลูกเปรียบเทียบในพื้นที่เดียวกัน ในสภาพการจัดการเดียวกัน เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรแต่ละพื้นที่ ได้ตัดสินใจเลือกใช้พันธุ์มันได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก
5. เรื่องระบบน้ำ ในแปลงเรียนรู้ แปลงต้นแบบของสมาชิกเครือข่าย KOTAC/KOTAM เบื้องต้นจะปลูกเปรียบเทียบระหว่างการให้น้ำและไม่ให้น้ำ ส่วนระยะกลาง และระยะต่อไป สมาชิกเครือข่ายจะนำผลที่ได้จากงานวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการระบบการให้น้ำในแปลงเพาะปลูกมันสำปะหลังอย่างมีประสิทธิภาพ
นายมาโนช วีระกุล นายกสมาคมฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คณะทำงาน KOTAC มีแผนงาน
ที่จะจัดงาน kick off ถ่ายทอดการดำเนินงานดังกล่าว
เบื้องต้นกำหนดไว้ในช่วงประมาณต้นเดือนมกราคม 58 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ แปลงเรียนรู้ของสมาชิกเครือข่าย โดยความร่วมมือบูรณาการร่วมระหว่าง KOTAC /KOTAM สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานเกี่ยวข้อง จำนวนผู้เข้าร่วมงานประมาณ 1,400 คน ประกอบด้วยเกษตรกรในเครือข่ายโรงแป้ง ลานมัน สหกรณ์การเกษตร
ผู้ประกอบการค้ามันสำปะหลังจากทุกภาคส่วน
เจ้าหน้าที่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัทฯ ห้างร้านต่างๆ เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ผลงานให้ความรู้กับเกษตรกร และผู้เข้าร่วมชมงานด้วย
ข้อมูลข่าวโดย : สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(NETTA)
สรุปผลการสำรวจภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูการผลิตปี 2557/58
สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการค้ามันสำปะหลัง ทั้ง 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย ร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการสำรวจภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูการผลิตปี 2557/58 ดังรายละเอียดตามไฟล์แนบ
ดาวน์โหลดไฟล์ 01
ดาวน์โหลดไฟล์ 02
กลุ่มคลัสเตอร์มันโคราช เข้าศึกษาดูงาน บริษัท ราชสีมา กรีน เอ็นเนอร์ยี จำกัด (ในเครือโรงงานน้ำตาลมิตรผล)
วันที่ 22 ส.ค.57 เวลา 10.00 น. คุณธิดารัตน์ รอดอนันต์ ประธาน "คลัสเตอร์มันโคราช" พร้อมด้วย คุณธีระ เอื้ออภิธร เลขาธิการ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ ได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงาน ณ โรงแป้ง บริษัท ราชสีมา กรีน เอ็นเนอร์ยี จำกัด (ในเครือโรงงานน้ำตาลมิตรผล) ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา โดยมีตัวแทนผู้บริหารบริษัทฯ คุณเผด็จศักดิ์ จำปา ผู้จัดการทั่วไป ดร.ปรีชา พราหมณีย์ ผู้เชี่ยวชาญระบบและเทคโนโลยีฯ คุณวัฒนชัย ชุมศรี หัวหน้าแผนกจัดหาวัตถุดิบ คุณณัฐพล โสกุดเลาะ นักวิจัยวิศวกรรมการเกษตร คุณธนากร การประกอบ เจ้าหน้าที่วิศวกรรมเครื่องจักรกลและจัดการไร่ เป็นผู้ให้การต้อนรับ และบรรยายให้ความรู้กับคณะผู้เข้าเยี่ยมศึกษาดูงาน ตามหัวข้อดังนี้.-
- แนวทางพัฒนาการปลูกมันฯ ของบริษัทฯ
- การใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน
- การใช้ระบบการจัดการที่ทันสมัย
- ระบบงานส่งเสริมปัจจัยการผลิต
- การขึ้นทะเบียนผู้ปลูกมันฯในพื้นที่ตั้งโรงงานและบริเวณใกล้เคียง และกลยุทธ์การจัดหามันสำปะหลัง โดยทางโรงงานมีพื้นที่ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการในรัศมี 30 ก.ม. จำนวน 161,000 ไร่
- การดำเนินโครงการแปลงทดลองร่วมกับเกษตรกร และหน่วยงานเกี่ยวข้อง
- การพัฒนาระบบเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
- เครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
- การพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลัง
- การพัฒนาเครื่องทำรุ่นมันฯ (ใส่ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช)
ภายหลังจากการบรรยายแล้ว ทางบริษัทฯ ได้นำคณะเยี่ยมชมรถปลูกมันฯ รถขุดมันฯ และได้กรุณาเลี้ยงอาหารกลางวันแก่คณะก่อนเดินทางกลับในช่วงบ่าย