
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ขอเชิญร่วมงานสัมมนา Productivity Talk on Tour 2014 หลักสูตร QCC Facilitator นักส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มปรับปรุงคุณภาพ
วันที่ 16-17 กรกฎาคม 2557 ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น
Special Promotion สมัครเข้าร่วมสัมมนาองค์กรละ 3 ท่านขึ้นไป รับส่วนลดพิเศษจากราคาปกติ
พร้อมรับฟรีหนังสือชุด QCC Knowledge Set มูลค่า 1,230 บาท / องค์กร
หนังสือชุด QCC Knowledge Set ประกอบด้วย 17 เครื่องมือนักคิด / Lean : วิถีแห่งการสร้างคุณค่าสู่องค์กรที่เป็นเลิศ /
Light Up / Quality Junction / Tools Box / Productivity World 3 ฉบับ
พิเศษยิ่งกว่า สมัครเข้าร่วมสัมมนาองค์กรละ 5 ท่านขึ้นไป
รับเพิ่มฟรี CD การศึกษางานเพื่อการปรับปรุงกระบวนการ 1 แผ่น / องค์กร
สำรองที่นั่ง / สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อแผนกสมาชิกสัมพันธ์และขายสื่อวิชาการ
โทร. 0-2619-5500 ต่อ 441 คุณวัชชิระ E-Mail
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ดาวน์โหลดเอกสารสัมมนา >>>>>
ดาวน์โหลดใบสมัครสัมมนา >>>>>
สัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัย “การวิเคราะห์วอเตอร์ฟุตพรินต์และคาร์บอนฟุตพรินต์ของการแปรรูปข้าวโพด อ้อย และสับปะรด”
ขอเชิญทุกท่านเข้าอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในหัวข้อ
สัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัย “การวิเคราะห์วอเตอร์ฟุตพรินต์และคาร์บอนฟุตพรินต์ของการแปรรูปข้าวโพด อ้อย และสับปะรด”
จัดโดย
ห้องปฏิบัติการการประเมินวัฏจักรชีวิต
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่ วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2557
สถานที่ ห้องบุษราคัม ชั้น 32 โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ
หลักการและเหตุผล
ประชาสัมพันธ์งานสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิจัย “การวิเคราะห์วอเตอร์ฟุตพรินต์และคาร์บอนฟุตพรินต์ของการแปรรูปข้าวโพด อ้อย และสับปะรด”
วัตถุประสงค์
การจัดสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง Carbon footprint และ Water Footprint ให้แก่ภาครัฐ และภาคเอกชน
2. เพื่อแสดงผล Carbon footprint และ Water footprint ของอุตสาหกรรมการแปรรูป ข้าวโพด อ้อย และสับปะรด
3. เพื่อแสดงการประยุกต์ใช้ผลการประเมิน Carbon footprint และ Water Footprint เพื่อหาแนวทางการจัดการน้ำและคาร์บอนได้อย่างเหมาะสม
กลุ่มเป้าหมาย
ภาครัฐ ภาคเอกชน
กำหนดการและหัวข้อบรรยาย
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนและรับเอกสารสัมมนา
09.00 - 09.10 น. ประธานกล่าวเปิดงานสัมมนา โดย ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา
09.10 - 09.20 น. ประธาน คณะวิทยากร และผู้เข้าร่วมสัมมนาถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน
09.20 - 09.50 น. ชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรมของโครงการ และสรุปผลการดำเนินโครงการ
โดย ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา
09.50 - 10.30 น. การคำนวณวอเตอร์ฟุตพรินต์และคาร์บอนฟุตพรินต์ของการปลูกพืช
โดย นายเสกสรร พาป้อง /นางสาวประกายธรรม สุขสถิตย์
10.30 - 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
10.45 - 11.05 น. ผลการคำนวณวอเตอร์ฟุตพรินต์และคาร์บอนฟุตพรินต์ของการแปรรูปข้าวโพด
โดย นายเสกสรร พาป้อง
11.05 - 11.25 น. ผลการคำนวณวอเตอร์ฟุตพรินต์และคาร์บอนฟุตพรินต์ของการแปรรูปอ้อย
โดย นางสุทธิวรรณ ธรรมสกนธ์
11.25 - 11.45 น. ผลการคำนวณวอเตอร์ฟุตพรินต์และคาร์บอนฟุตพรินต์ของการแปรรูปสับปะรด
โดย นางสาวฤทัย ตรังควชิรกุล
11.45 - 12.00 น. ถาม – ตอบ
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
วิทยากร
1. ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. นายเสกสรร พาป้อง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
3. นางสาวประกายธรรม สุขสถิตย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
4. นางสุทธิวรรณ ธรรมสกนธ์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
5. นางสาวฤทัย ตรังควชิรกุล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ค่าลงทะเบียน
ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
การตอบรับเข้าร่วมสัมมนา
1. โปรด Download แบบตอบรับเข้าร่วมสัมมนาได้ที่
http://www2.mtec.or.th/th/course_seminar/detail/Water_Carbon_Footprint.pdf
2. กรอกแบบตอบรับให้ครบถ้วนแล้วกรุณาส่งแบบตอบรับมาทาง โทรสาร หรือ ไปรษณีย์ อิเล็คทรอนิกส์ ที่ห้องปฏิบัติการการประเมินวัฏจักรชีวิต ภายในศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2557
โทรสาร 02-5646338
ไปรษณีย์ อิเล็คทรอนิกส์
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อ คุณ ฤทัย ตรังควชิรกุล โทรศัพท์ 02-5646500 ต่อ 4772
การบรรยายพิเศษ “ตลาดแอลกอฮอล์ประเทศจีน”
การบรรยายพิเศษ “ตลาดแอลกอฮอล์ประเทศจีน”
ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี
สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2557 เวลา 13.00 น.
ณ ภัตตาคารเสียวเสี้ยว จังหวัดนครราชสีมา
MRS. ZHONG LINGMEI (PRUCHASING MANAGER)
COFCO BIOCHEMICAL(ANHUI) CO.,LTD.
- ในปี 2013 ความต้องการของตลาดแอลกอฮอล์ได้ปรับตัวลดลง กำลังการผลิตมีมากกว่าความต้องการโดยอยู่ในระดับ ใกล้เคียงกับปี 2010 ปริมาณการผลิตอยู่ที่ 6,200,000 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2012 เพิ่มขึ้น 100,000 ตัน ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในรูปของเอทานอล
- โครงสร้างของวัตถุดิบที่ผลิตแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่ใช้เป็นข้าวโพด ส่วนแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากมันเส้น ได้รับ ผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ปริมาณการซื้อขายในตลาดจึงมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนแอลกอฮอล์ที่ผลิตจาก กากน้ำตาลก็ยังอยู่ในระดับปริมาณไม่มาก ปัจจุบันเอทานอลที่ผลิตในจีนยังมีปริมาณไม่มาก ซึ่งเอทานอลที่ผลิตจาก กากน้ำตาลมีสัดส่วนน้อยจากภาพรวมทั้งหมด
- ปัจจุบันโรงงานแอลกอฮอล์ที่ล้าหลัง เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ได้หยุดการผลิตที่ผลิตในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็น โรงงานขนาดใหญ่ ในปี 2013 ตลาดแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้นจะมาจากโรงานขนาดใหญ่ ซึ่งโรงงานเหล่านี้จะเป็นผู้กำหนด ราคาในตลาด ส่วนโรงงานที่ล้าหลัง มีจำนวนเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ในปี 2013โรงงานที่มีกำลังการผลิต 150,000 ตัน ขึ้นไป มีสัดส่วนปริมาณ 45.5%ของตลาดทั้งหมด ส่วนโรงงานที่มีกำลังการผลิต100,000-150,000 ตัน มีอัตราส่วนที่ 14.5% หากเทียบกับปี 2012 มีการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- ด้านความต้องการ โดยภาพรวมของอุตสาหกรรม ในปี 2013 สุรา กับ เคมีภัณฑ์ มีปริมาณลดลง แต่ในส่วนของ เอทานอลมีความต้องการมากขึ้น
- เนื่องจากนโยบายการควบคุมของรัฐบาลจีนที่ลดประมาณการบริโภคเหล้าในระหว่างขับรถ ในปี 2013 ปริมาณ บริโภคเหล้าขาวในจีนจึงมีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ในพื้นที่มลฑลเสฉวน และกุ้ยโจว ปริมาณการผลิต เหล้าขาวก็ยังมีการเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยรวมแล้ว ในปี 2013 เหล้าขาวมีการผลิตทั้งหมดในจีนอยู่ที่ 12,260,000ลิตร ซึ่งมีปริมาณน้อยลงกว่าปี 2013 ที่ 5.61 % ด้านอุตสาหกรรมเคมี ปริมาณการใช้แอลกอฮอล์ ก็ลดลงเช่นกัน กำลังการผลิตมีเหลือและความต้องการของต่างประเทศก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นทำให้การผลิตผลิตได้ไม่เต็มกำลังแอลกอฮอล์ในการใช้ก็ลดลงเช่นกัน
- ในแง่ของปริมาณการใช้เอทานอลของจีน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูงมานาน และรัฐบาล เองก็มีการสนับสนุนพลังงานทดแทน ทำให้ปริมาณการใช้เอทานอล มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2013 ภายในประเทศ จีน เอทานอลมีการขายออกรวมทั้งหมด 2,200,000 ตัน ถ้าเปรียบเทียบกับปี 2012 เพิ่มขึ้น 100,000 ตัน ในส่วน ที่สอง ในปี 2009 รัฐบาลจีน มีการยกเลิกการคืนภาษีส่งออกของแอลกอฮอล์ ทำให้ปริมาณการส่งออกแอลกอฮอล์ ของจีนอยู่ในระดับที่ลดลง
- การผลิตและการใช้ข้าวโพดในจีน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวโพด การใช้ข้าวโพด ในพื้นที่ต่างๆ มีปริมาณการใช้และการเพาะปลูกเปลี่ยนแปลงในปริมาณเล็กน้อย
- ในส่วนของวัตถุดิบข้าวโพด ในปี 2009-2014 ปริมาณการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวโพด มีเฉลี่ย เพิ่มขึ้น 6.5 % ต่อปี แต่ความต้องการที่เพิ่มขึ้น มี 3.1 % ต่อปี ซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจะมกกว่าความต้องการ และหาก มองจากหลายๆ ปี ที่ผ่านมา ข้าวโพด มี ดีมานซัพพลาย ที่ไม่ตึงเครียด และที่สำคัญในทุกปีปริมาณที่คงเหลืออยู่ในคลังสินค้าก็มีเพิ่มขึ้น ในปีฤดูกาล 2013/14 ปริมาณที่เหลืออยู่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา3,222,000 ตัน
- รัฐบาลมีนโยบายให้มีการใช้ข้าวโพดในส่วนของโมดิฟายด์ ในช่วง 2006-2012 ข้าวโพดในประเทศจีน ปีนี้ประสบ ปัญหาภัยธรรมชาติทำให้คุณภาพข้าวโพดลดลงเมื่อเทียบกับทุกปี ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนก็ออกนโยบาย เพื่อที่จะ สนับสนุนการใช้ข้าวโพดเหล่านี้ โดยการชดเชยในส่วนของค่าบรรทุกกระจายไปให้โรงงานที่ใช้ข้าวโพดคุณภาพต่ำ
- ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปริมาณการนำเข้ามันสำปะหลังของจีน มีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2011 การนำเข้า อยู่ที่ 4,870,000 ตัน ปี 2012 ปริมาณนำเข้าอยู่ที่ 6,960,000 ตัน ในปี 2013 ปริมาณการนำเข้าอยู่ที่ 7,230,000 ตัน ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ปริมาณนำเข้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 16 %
- ในปี 2013 จีนนำเข้ามันเส้น 7,230,000 ตัน ซึ่งนำเข้าจากประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง ปริมาณการนำเข้าอยู่ที่ 5,750,000 ตัน โดยครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 80 % ส่วนเวียดนามนำเข้าทั้งหมด 1,330,000 ตัน ส่วนแบ่งตลาด อยู่ที่ ประมาณ 20 %
- ในส่วนของคุณภาพ ตามการผลิตที่เพิ่มขึ้น และลูกค้ามีความต้องการคุณภาพมากขึ้น มันสำปะหลังไทยช่วงระยะเวลา ที่ผ่านมาก็มีคุณภาพที่ดีขึ้น แต่ว่าปริมาณทรายที่ยังค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเบ็ดเสร็จ จีนหวังว่าไทยสามารถเน้นเรื่องการควบคุมคุณภาพการผลิตให้ดีขึ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของมัน ไทยที่ส่งออกไปตลาดจีนได้มากขึ้น
- เนื่องจากราคาแอลกอฮอล์ในตลาดโลกไม่ได้ปรับตัวลดลง ในส่วนของประเทศไทยและเวียดนามก็มีปริมาณผลผลิตมัน สำปะหลังเพิ่มขึ้น ในปี 2013 ราคาส่งออกมันสำปะหลังไทยกับเวียดนามอยู่ในทิศทางที่ลดลง ในปี 2013 จีนนำเข้ามัน สำปะหลัง ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 251 ดอลลาร์ ต่อตัน ซึ่งเทียบกับ ปี 2012 ราคาลดลง 4 ดอลลาร์ ต่อตัน (ราคา C&F)
- ตลาดมันเส้นไทยที่ส่งออกไปจีน ทิศทาง ตั้งแต่ปี 2013 หลังจากช่วงตรุษจีน ปริมาณการบริโภคของเหล้าขาวเริ่ม ลดลง และนโยบายของรัฐบาลที่ชัดเจนมากขึ้น ทำให้หลังเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นมา ตลาดเริ่มปรับตัว ในทิศทางที่ลดลง ในเดือนเมษายน 2557 ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของจีน โรงงานแอลกอฮอล์ ขนาดเล็ก เริ่มเข้าสู่ภาวะหยุดการผลิต ขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบจากสัตว์เสียชีวิตทำให้การบริโภคอาหารสัตว์ ก็ลดลงเช่นกัน ทำให้ผลพลอยได้ซึ่งมาจากโรงงานผลิตแอลกอฮอล์ที่ใช้วัตถุดิบจากข้าวโพดมีราคาลดลงเช่นกัน ซึ่งใน เดือนสิงหาคม 2556ที่ผ่านมา เป็นจุดต่ำสุดของการผลิตแอลกอฮอล์ หลังจากเดือนกันยายน 2556 มี 2 เทศกาล ใหญ่ๆ ของจีน เป็นวันไหว้พระจันทร์และวันชาติของจีน ราคาแอลกอฮอล์ก็เริ่มยืนแข็ง และการผลิตแอลกอฮอล์ในส่วน ของเหล้าขาวก็เข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ราคาแอลกอฮอล์ในจีนเริ่มมีราคาเพิ่มขึ้น จนถึงในเดือนธันวาคม 2556 การเพิ่มขึ้นของราคาก็เริ่มยืนแข็ง และในช่วงเดือนมกราคม 2557 ที่ผ่านมา เนื่องจากใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีน เช่นเดียวกันหลังเทศกาลตรุษจีน ราคาก็ปรับตัวลดลง
- ปัจจุบันราคาแอลกอฮอล์ของจีน (เม.ย. 57) อยู่ที่ 5,100 หยวน ต่อตัน ซึ่งหากเปรียบเทียบราคาในระยะเวลาเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา แล้วราคาลดลงไปทั้งหมด 500 หยวน ต่อตัน ซึ่งในขณะเดียวกันวัตถุดิบที่ซื้อเข้ามา ราคาลดลงจากเดิม 20 ดอลลาร์ ต่อตัน
- อัตรากำไรในตลาดแอลกอฮอล์ซึ่งเปรียบเทียบจากปี 2009 จนถึงปี 2013 จะเห็นได้ว่าปริมาณกำไรจะลดลงทุกๆ ปี
- อนาคตการพัฒนาตลาดแอลกอฮอล์ของจีน เนื่องจากรัฐบาลมีการปรับเปลี่ยนพัฒนาโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ จึงหยุดบางโรงงานที่ล้าหลัง ซึ่งอยู่ในช่วงของการดำเนินการทำให้ขนาดโรงงานแอลกอฮอล์ของจีนกำลังการผลิต ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ซึ่งมีความแตกต่างจากสมัยก่อน ในขณะเดียวกัน เรื่องการหยุดโรงงานที่ล้าหลังจะเพิ่มมากขึ้น จะเห็นว่าโรงงานแอลกอฮอล์บางส่วนเริ่มหยุดการผลิต และถอยออกจากตลาดไป
- ที่สำคัญเรื่องคุณภาพของแอลกอฮอล์ โดยทิศทางหลัก แอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพสูงจะเป็นที่ต้องการของตลาดใน อนาคตอย่างเห็นได้ชัด
- COFCO BIOCHEMICAL(ANHUI) CO.,LTD. ซึ่งมีทั้งหมด 2 บริษัทฯ ตั้งอยู่ที่ อันฮุย และ กวางสี ปริมาณการใช้มันเส้น รวมทั้งหมด 1,000,000 ตัน ต่อปี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านสามารถที่จะร่วมเป็นคู่ค้าที่ดีด้วยกันได้ในอนาคต
--------------------------
สรุปผลการสำรวจทบทวนภาวะการผลิตมันสำปะหลังฤดูการผลิต ปี 2556/57 สายที่ 2
วัตถุประสงค์
เพื่อทบทวนปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง ฤดูการผลิต ปี 2556/57 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ
ภาคตะวันออกของประเทศไทย รวมทั้งติดตามภาวะการค้ามันสำปะหลัง และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
จังหวัดที่สอบถามข้อมูลได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี เลย สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง และชลบุรี
ดาวน์โหลดไฟล์ >>>>> คลิก
สรุปผลการสำรวจทบทวนภาวะการผลิตมันสำปะหลังฤดูการผลิต ปี 2556/57 สายที่ 1
วัตถุประสงค์
เพื่อทบทวนปริมาณผลผลิตมันสำปะหลัง ฤดูการผลิต ปี 2556/57 ในภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคเหนือของประเทศไทย รวมทั้งติดตามภาวะการค้ามันสำปะหลัง และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
จังหวัดที่สอบถามข้อมูลได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี ลำปาง แพร่ น่าน และเชียงราย
1. ผลผลิตมันสำปะหลัง ฤดูการผลิต ปี 2556/57
- จากการสำรวจฯ พบว่าในพื้นที่ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคเหนือ ผลผลิตรวมลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนกันยายน 2556 ประมาณ 3% เนื่องจากภาวะแห้งแล้ง ทำให้หัวมันฯ มีขนาดเล็ก ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร และพบการระบาดของเพลี้ยแป้ง และไรแดงเล็กน้อยในบางพื้นที่
- ปัจจุบันเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเป็นส่วนใหญ่ โดยมีหัวมันคงค้างที่ยังไม่ถูกเก็บเกี่ยวสำหรับฤดูการผลิต ปี 2556/57 ประมาณ 10% ซึ่งน้อยกว่าฤดูการผลิตที่ผ่านมา เนื่องจากหัวมันราคาสูงจูงใจให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิต
2. สถานการณ์การตลาดมันสำปะหลัง
- ภาคตะวันตก
- พื้นที่ จังหวัด สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท ราชบุรี และกาญจนบุรี
- ปริมาณหัวมันฯ ออกสู่ตลาดน้อย โรงแป้งฯ เปิดดำเนินการผลิต 2 โรงงาน จากทั้งหมด 7 โรงงาน โม่ได้ประมาณ 50-70% ของกำลังการผลิต ลานมันส่วนใหญ่หยุดตากมันเส้นเนื่องจากผลผลิตมีน้อย ราคาหัวมันคละ ประมาณ 2.00-2.20 บาท/กก. เชื้อแป้งเฉลี่ย 18-22%
- ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง
- พื้นที่ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี
- ปริมาณหัวมันฯ ออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย โรงแป้งฯ เปิดดำเนินการผลิต 7 โรงงาน จากทั้งหมด 15 โรงงาน โม่ได้ประมาณ 30-60% ของกำลังการผลิต ลานมันส่วนใหญ่หยุดตากมันเส้นเนื่องจากผลผลิตมีน้อย ราคาหัวมันคละ ประมาณ 2.00-2.30 บาท/กก. เชื้อแป้งเฉลี่ย 18-23%
- ภาคเหนือ
- พื้นที่ จ. ลำปาง จ.แพร่ จ.น่าน และ จ.เชียงราย
- ปริมาณหัวมันฯ ออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ลานมันส่วนใหญ่หยุดตากมันเส้นเนื่องจากผลผลิตมีน้อย ราคาหัวมันคละ ประมาณ 1.90-2.30 บาท/กก. เชื้อแป้งเฉลี่ย 20-23%
3. ข้อสังเกต
พบพื้นที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดสุโขทัย ตาก ลำปาง และเชียงราย ซึ่งปลูกทดแทนในพื้นที่ข้าวโพด อ้อย และพื้นที่หวงห้าม เนื่องจากราคาหัวมันสำปะหลังจูงใจกว่าพืชชนิดอื่น อย่างไรก็ตามพบว่าเกษตรกรในจังหวัดที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกใหม่ ขาดความรู้ความชำนาญในการเพาะปลูกมันสำปะหลังอย่างถูกวิธี เช่น ท่อนพันธุ์ไม่สมบูรณ์ และระยะห่างของต้นมันฯ ในการเพาะปลูก ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นต้น
คณะสำรวจภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง ฤดูกาลผลิตปี 2556/57
1 พฤษภาคม 2557
ดาวน์โหลดไฟล์ คลิก >>>>>