Company Logo





พยากรณ์อากาศ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

872797
วันนี้13
เมื่อวานนี้393
สัปดาห์นี้13
เดือนนี้1194
ทั้งหมด872797

ข่าวสมาคมฯ

>>"ประกาศจากกรมการค้าภายใน "รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการชดเชยดอกเบี้ย"... ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศกรม หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติการดำเนินโครงการ ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศ รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ  ดาวน์โหลดไฟล์ หนังสือยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงกา...  --อ่านต่อ--
เข้าร่วมประชุม“การผลักดันขยายตลาดส่งออกสินค้ามันสำปะหลังไทย” ร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นางอ... วันนี้ (17 ธ.ค.67) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 9 กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นายปัญญา บุญบันดาลฤทธิ์ นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ เข้าร่วมประชุม“การผ...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

ข่าวทั่วไป

ชาวไร่มันเฮ! ”พิชัย“ จับมือผู้นำเข้ายักษ์ใหญ่จีนสั...         วันที่ 16 มกราคม 2568 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาการซื้อขาย (Purchasing Order) และบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการไทย และบริษัท COFCO BIOTECHNOLOGY CO.,LTD หน่วยงานนำเข้ายัก...  --อ่านต่อ--
​“พาณิชย์”โชว์ผลงานนำทีมขายมันที่เซี่ยงไฮ้-เฉิงตู ...   กรมการค้าต่างประเทศสรุปผลการนำคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและภาคเอกชน เดินทางไปขยายตลาดมันสำปะหลังที่เซี่ยงไฮ้และเฉิงตู ประสบความสำเร็จเกินคาด ตกลงซื้อขาย 4.4 แสนตัน คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.68 ล้านตัน มูลค่า 5,314.95 ล้านบาท เผยยังสามารถเปิดตลาดใหม่ไปส...  --อ่านต่อ--
“พิชัย” เร่งช่วยเกษตรกรชาวไร่มัน ประสานจีนรับซื้อม... นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งไปยังกรมการค้าภายใน และกรมการค้าต่างประเทศ ให้เร่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรชาวไร่มันผ่านหลายมาตรการ และยังได้เร่งประสานให้ทางการจีนเข้ามาช่วยรับซื้อผลผลิตจากมันสำปะหลังเป็นการเร่งด่วน...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

ครบรอบ 10 ปี AFET หนุนเลิกจำนำ สู่ทศวรรษใหม่รับเออีซี

 

 

          ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ยังไม่ได้รับความนิยม แม้จะผ่านไปถึง 10 ปีแล้ว อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร นักวิชาการ และข้าราชการได้สะท้อนมุมมองอย่างน่าสนใจ

คสช.หนุนปฏิรูปการค้าเกษตร

          นางพิรมล เจริญเผ่า รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเปิดงานสัมมนาครบรอบ 10 ปี AFET ในหัวข้อ "หนึ่งทศวรรษ AFET กับบทบาทการสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรไทย" ว่า ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีนโยบายให้ปฏิรูปการตลาด การค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร การใช้ประโยชน์จากตลาด AFET เป็นทางเลือกในการบริหารความเสี่ยง การวางแผนผลิต และการตลาด ควรจัดให้มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เพราะในอนาคตจะเป็นกลไกสำคัญหากสามารถผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าในอาเซียน

10 ปี AFET ยังแผ่ว

          นายศักดิ์ดา ทองปลาด รองผู้จัดการ และผู้ทำการแทนผู้จัดการ AFET กล่าวว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา AFET ไม่มีบทบาทในการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรอย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการใช้นโยบายแทรกแซงราคา ทำให้กลไกตลาดไม่สามารถทำงานได้ รวมทั้งติดปัญหาสภาพคล่อง หากเทียบประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น ใช้กลไกตลาด AFET ถึง 2 เท่า ของปริมาณการค้าในสินค้าแต่ละชนิด ขณะที่ไทยมีสินค้าผ่าน AFET 3 รายการ ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าว

นักวิชาการหนุนเลิกจำนำ

          นายทวีชัย เจริญเศรษฐศิลป์ นักยุทธศาสตร์อาวุโส สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า AFET เป็นเครื่องมือยกระดับรายได้เกษตรกร ไม่ต้องพึ่งพาการแทรกแซงของภาครัฐ หากซื้อขายผ่านตลาดเอเฟตจะช่วยทำให้ค่าเฉลี่ยของรายได้เกษตรกรที่ต้องสูญเสียจากความผันผวนของราคาลดลง 6.4% ของรายได้ ในระยะยาวไทยควรมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ลดการแทรกแซงราคา หันมาใช้ประโยชน์จากกลไกตลาด การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและเครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยง ตลอดจนใช้เป็นแหล่งกำหนดราคาอ้างอิงสำหรับเกษตรกร ที่จะสามารถนำไปใช้วางแผนการผลิตและทำการตลาดได้

AFET รับ AEC

          นายพงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด กล่าวระหว่างการเสวนา "การปรับตัวของสินค้าเกษตรหลัก โดยใช้กลไกตลาดล่วงหน้า เพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC " ว่า หลังจาก คสช. เข้ามาบริหารประเทศ น่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ทั้งเรื่องราคา กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การแข่งขันในตลาด ซึ่งทุกหน่วยงานควรร่วมมือกันผลักดันให้ตลาดอาเซียนเป็นตลาดที่กำหนดอ้างอิงราคายางพาราได้ เพราะมีผู้ผลิตอยู่ในกลุ่มอาเซียนหลายประเทศ

          นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจข้าวและอาหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด กล่าวว่า มั่นใจว่าการบริหารประเทศภายใต้ คสช. จะไม่มีโครงการรับจำนำข้าว และโครงการประกันราคาเกิดขึ้น จะทำให้กลไกราคาข้าวผ่อนคลายมากขึ้น หลังจากนี้ AFET ต้องเร่งศึกษาพัฒนาระบบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ เพียงพอตอบโจทย์ผู้ประกอบการ นักลงทุนได้ เพื่อกระตุ้นการซื้อขายให้มากขึ้น

          นายมาโนช วีระกุล นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ต้องแก้ไขกฎระเบียบ กฎหมาย เพื่อลดอุปสรรคการซื้อขายผ่าน AFET ลง และขอให้ คสช.สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี ปัจจุบันปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังปีการผลิต 2556/2557 คาดว่ามีประมาณ 28 ล้านตันหัวมันสด แบ่งใช้ในประเทศ 25% ส่งออก 75% นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน 3-4 ล้านตัน ให้พอต่อความต้องการในตลาดประมาณ 32 ล้านตัน ในระยะยาวขอให้รัฐดูแลด้านอื่นแทนการแทรกแซงราคา

ทีมา : ข่าวประชาชาติธุรกิจ

ยุทธศาสตร์พืช 4 ชนิด...เพื่อใคร?..



          ทนเห็นการแก้ปัญหาสินค้าเกษตรของ คสช. ไปๆมาๆ ดูเหมือนจะเป็นไปตามใบสั่งของบรรดาผู้สันทัดถนัดชง ดร.อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย เลยฝากบทความมาย้ำเตือน...ก่อนความตั้งใจดีของ คสช. จะต้องมัวหมองและเสียของ

          โดยเฉพาะการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, มันสำปะหลัง, ปาล์มน้ำมัน และอ้อย เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างมั่นคงและยั่งยืน สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 11 ตามข้อเสนอของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

          และ คสช. มอบ หมายให้คณะอนุกรรมการชุดนี้ไปจัดทำยุทธศาสตร์ 5 ด้าน...1. การ บริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning), 2. การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์, 3. การนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตและส่งเสริมการผลิตให้ได้มาตรฐานและมูลค่าเพิ่ม, 4. การผลิตแบบเกษตรแผนใหม่ (Modern Farming) และ 5. การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

          ยุทธศาสตร์ที่ว่ามา ดร.อนันต์ มองว่า ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว โซนนิ่งที่พูดกัน ไม่ว่า มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชที่มีโซนนิ่งที่เกิดโดยพฤติกรรม มีแหล่งรับซื้อ มีโรงงานแปรรูปอยู่ในพื้นที่ แทบไม่ต้องไปกำหนดขีดเส้นอะไรเลย...ปลูกไปแล้ว ไม่มีโรงงานแปรรูป ไม่มีแหล่งรับซื้อ ไม่มีใครทำ

          แต่ที่น่ากังวลของยุทธศาสตร์พืช 4 ชนิด นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยมองกังวลไปที่ ทำไปทำมาจะกลายเป็นห้าม ปลูกพืชอีกชนิด แล้วจะเอาพื้นที่ไปส่งเสริมให้ปลูกพืชอีกชนิด โดยเฉพาะพืชอาหารสัตว์ พอส่งเสริมให้ปลูกกันมากๆ ล้นตลาด...นายทุนบางกลุ่มจะได้ช้อนซื้อของดีมีคุณภาพในราคาถูก ส่วนเกษตรกรต้องขาดทุนน้ำตาตก เป็นวัฏจักรในวงจรอุบาทว์เหมือนเดิม

          เพราะแผนยุทธศาสตร์ไม่มีข้อไหนเลยที่จะมาแก้ปัญหาให้เกษตรกรได้ตรงจุด โดยเฉพาะปัญหาเรื้อรังดึกดำบรรพ์ เกษตรกรถูกพ่อค้าโกง เอาเปรียบ กดราคา ไม่มีการระบุในแผนยุทธศาสตร์แม้แต่ประโยคเดียว นี่ต่างหากคือ ยุทธศาสตร์เกษตรไทยที่ต้องปฏิรูปไม่ให้เสียของ เพื่อเกษตรกรจะได้ดำรงชีพอย่างมีความสุขแท้จริงเสียที.

ที่มา : ข่าวไทยรัฐออนไลน์ 1 กันยายน 2557

คสช.ยกร่างแผนแก้ปัญหาข้าวโพด-อ้อย-มันฯ-ปาล์มคาดแล้วเสร็จใน 2สัปดาห์



          พล.อ.อักษรา เกิดผล ผู้อำนวยการส่วนงานการรักษาความเรียบร้อย สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธานการประชุม คสช. กล่าวถึงความคืบหน้าด้านยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรรายพืชเศรษฐกิจ 4 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อยว่า คสช.ได้ตั้ง 4 คณะอนุกรรมการแยกเป็นรายพืชเพื่อร่างแผนแก้ปัญหาทั้งระบบ โดยจะมีการเสนอแผนในอีก 2 สัปดาห์

          นอกจากนี้ ทางฝ่ายเศรษฐกิจได้รายงานถึงมาตรการลดค่าครองชีพให้กับประชาชน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการอยู่ ได้แก่ การจัดจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด จำนวน 39 ครั้ง, โครงการจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ 825 ร้านค้า, โครงการตรวจสอบและมอบมาตรฐานสถานีบริการน้ำมันเต็มลิตร 310 แห่ง รวมทั้งการเร่งจัดตั้งสถาบันพัฒนาศักยภาพข้าวร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)

ที่มา : ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์  จันทร์ที่ 1 กันยายน 2557 

สศก.ย้ำตลาดส่งออกมันสดใส แนะเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก


สุรศักดิ์ พันธ์นพ

           สศก. ชี้ประเทศไทยยังส่งออกมันสำปะหลังติดอันดับรายใหญ่ของโลก พร้อมเล็งทิศทางตลาดยังไปได้สวย เกษตรกรสามารถขยายการเพาะปลูกได้

           นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะทำงานพัฒนาสารสนเทศการเกษตรระดับประเทศ ว่า ที่ประชุมได้สรุปสถานการณ์การผลิตและการตลาดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรที่สำคัญหลายชนิด ซึ่งในส่วนของมันสำปะหลังที่ไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก มีส่วนแบ่งการตลาดในการค้าโลกถึงร้อยละ 68 และประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับหนึ่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน

           โดยในปี 2557 ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มิถุนายนนั้นไทยมีการส่งออกแป้งมันสำปะหลังไปจีน ไต้หวัน และมาเลเซีย มีปริมาณ 0.65, 0.15 และ 0.11 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 8,809 กับ 2,068 และ 1,524 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังส่งออกมันเส้นไปจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ถึง 3.6 ล้านตัน มีมูลค่า 25,696 ล้านบาท โดยแนวโน้มในการส่งออกไปยังประเทศจีนนั้นยังดีอยู่

           อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนมองว่า ความต้องการใช้ทั้งภายในและต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อผลิตอาหารสัตว์และใช้เป็นพลังงานทดแทน ดังนั้น ภาครัฐจึงควรเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตให้มากขึ้น รวมทั้งหามาตรการจูงใจให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่เขตเหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการผลิตที่ดี ต้นทุนต่ำ และมีผลตอบแทนสูง

 ที่มา : แนวหน้า 2 กันยายน 2557

ราคาแป้งมันสำปะหลัง

                                     อ่านทั้งหมด

     

 



       




Powered by Allweb Technology.