Company Logo
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ www.nettathai.org สนใจสมัครสมาชิก ติดต่อ โทรศัพท์ 0 4421 2370 - 1 โทรสาร 0 4421 2372 E-mail : nettathai@hotmail.com





อัตราแลกเปลี่ยน



พยากรณ์อากาศ

สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง เปิดตัว 3 สายพันธุ์ใหม่ ต้านไวรัสใบด่าง

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด
 

สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง เปิดตัว 3 สายพันธุ์ใหม่ ต้านไวรัสใบด่าง เล็งชงรัฐบาลใช้งบปีละ 300 ล้าน ติดต่อกัน 7 ปี กำจัดโรคให้สิ้นซาก เอกชน เฮ เชียร์ปลูกทั่วประเทศ รับดีมานด์จีนโตแรง หวังทดแทนนำเข้าวัตถุดิบปีละ 10 ล้านตัน เสริมความมั่นคงอาชีพเกษตรกร ป้องอุตฯ แสนล้านไปต่อ

"โรคใบด่างมันสำปะหลัง"  ที่พบครั้งแรกในไทยตั้งแต่ปี 2561 ยังคงแพร่ระบาดต่อเนื่อง จากท่อนพันธุ์ที่มีโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะไม่มียาป้องกันหรือรักษาโดยตรง ซึ่งหากเป็นแล้วจะมีผลทำให้ผลผลิตหัวมันสดลดลง 40-80% พบมีการระบาดในประเทศแล้วมากกว่า 3 ล้านไร่ เป็นที่มาของมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงถึงความเสียหายรุนแรงของโรคใบด่างต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังของประเทศในแต่ละปี และได้เร่งหาทางหยุดยั้ง

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

 นายจเร จุฑารัตนกุล กรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการและผู้อำนวยการใหญ่ มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นับตั้งแต่เกิดโรคใบด่างฯ ทางมูลนิธิฯ ได้ริเริ่มโครงการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์การนานาชาติมาสำรวจให้คำปรึกษาและจัดประชุมเพื่อถ่ายทอดวิชาการตั้งแต่ปี 2560 และในปี 2561 ได้หารือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อร่วมจัดทำโครงการปรับปรุงพันธุ์ต้านทานและใช้วิธีการควบคุมโรคพืช เพื่อควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลัง เริ่มดำเนินงานในปี 2562 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสถาบันเกษตรเขตร้อนนานาชาติ หรือ IITA จากประเทศไนจีเรีย จำนวน 5 พันธุ์ เพื่อนำมาทดสอบ และขยายพันธุ์

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

ทั้งนี้ได้ผ่านการตรวจสอบและควบคุมจากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร จนได้พันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคใบด่างระดับสูง จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ 1. TME B419 มีชื่อเล่นว่า “อิทธิ 1” 2. IITA-TMS-IBA980581 เรียกว่า “ อิทธิ 2” และ 3. IITA-TMS-IBA920057 เรียกว่า “อิทธิ 3” โดยทั้ง 3 พันธุ์นี้จะได้ขอพระราชทานชื่ออันเป็นมงคลนามจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อไป

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

 

ในส่วนของการให้ผลผลิตและเชื้อแป้งของมันสำปะหลังทั้ง 3 สายพันธุ์ แม้จะไม่สูงเท่ากับพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 แต่ทั้ง 3 พันธุ์ มีความเป็นไปได้สูงสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ในประเทศ ไทยเพื่อนำไปปลูกทดแทนในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอย่างรุนแรง จากการดำเนินโครงการมา 5 ปีได้ประสบความสำเร็จ ได้พันธุ์มาขยายพันธุ์แล้วกว่า 17,000 ต้น

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

 ขณะที่เวลานี้อยู่ในขั้นตอนที่ 2 คือมูลนิธิฯได้รับท่อนพันธุ์จากคณะวิจัยพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำมาลงแปลงนี้ ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงปัจจุบัน จาก 17,000 ต้น ได้มาลงแปลงขยายปลูกเป็น 95,000 ต้น โดยใช้กรรมวิธีต่างๆ เพื่อไปสู่การขยายต้นพันธุ์ให้เร็วที่สุด คาดในปีหน้าจะสามารถเพิ่มเป็น 7 แสนต้นหรือเพิ่มขึ้น 40 เท่าตัว

 

“ต้นพันธุ์ที่จะกระจายออกไปอาจเป็นต้นทุนของเกษตรกร สมัยก่อนต้นพันธุ์ ราคาอยู่ที่ 1.50 บาทต่อต้น แต่ตอนนี้ราคาพันธุ์ต้นละ 3-5 บาท เมื่อทุกคนตระหนักแล้วว่าจำเป็นที่จะต้องเอาพันธุ์ใหม่ไปให้ถึงโดยเร็วที่สุด โดยวิธีการแจกฟรี หรือขายในราคาตํ่า ก็จะมีกำลังมาป้อน เพียงรัฐอุดหนุนปีละ 30 บาทต่อไร่ 10 ล้านไร่ ก็เท่ากับปีละ 300 ล้านบาท สามารถแก้ปัญหาได้เลย อย่างน้อยจะได้พันธุ์มาขยาย 15 ล้านต้นต่อปี”

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

ทั้งนี้หากนโยบายเดินหน้าต่อเนื่องยาว 7 ปี จะแก้ปัญหาโรคใบด่างฯได้สำเร็จ ใช้เงินไม่มาก โดยการได้พันธุ์ใหม่มาเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ จะสำเร็จได้เมื่อพันธุ์มันสำปะหลังใหม่ได้ไปอยู่แปลงเกษตรกรทั่วประเทศ และจะเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมที่โรงงานสามารถนำไปแปรรูปส่งออกต่อได้ โดยขณะนี้ความต้องการของตลาดจีนยังมีสูงดังนั้นทางมูลนิธิฯ จึงได้ประกาศความสำเร็จในเบื้องต้น

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

นายธีระ เอื้ออภิธร นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า อุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยวันนี้ค่อนข้างวิกฤตในแง่ผลผลิตจากผลกระทบโรคใบด่าง ซึ่งมันฯ 3 พันธุ์ใหม่ต้านไวรัสใบด่างถือเป็นอีกหนึ่งทางรอด ดังนั้นจะต้องนำพันธุ์เหล่านี้ไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรเร็วที่สุด และฝากทางรัฐบาล รวมทั้งนักวิจัยได้หาพันธุ์ใหม่ๆ ที่ต้านทานโรคและมีเชื้อแป้งสูงเพิ่มเติมด้วย

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

นายสุรพงษ์ แสงศิริพงษ์พันธ์ นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวว่า ทิศทางข้างหน้าชาวไร่มีความเสี่ยงต้องเผชิญปัญหาภัยแล้งที่อาจถาโถมเข้ามาอย่างหนักหน่วงในช่วง 1-2 ปี นับจากนี้ ขณะที่มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น หากใช้ท่อนพันธุ์จากสถาบันฯที่ได้สายพันธุ์มาจากทวีปแอฟริกา ที่ทนต่อภัยแล้งก็จะช่วยลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหายและยังต้านทานโรคใบด่างได้ด้วย

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

ด้านนายดนัยธนิต พิศาลบุตร กรรมการมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมาผลผลิตมันสำปะหลังของไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากปกติใช้ประมาณ 40 ล้านตันต่อปี ผลิตได้ประมาณ 30 ล้านตัน ต้องนำเข้าราว 10 ล้านตันต่อปี ขณะที่ในปีนี้คาดผลผลิตในประเทศจะลดลงเหลือประมาณ 24 ล้านต้น หรือน้อยกว่า ถือเป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งวงการกำลังจับตามอง หากได้พันธุ์ใหม่มาปลูก ทันต่อความต้องการเกษตรกรก็จะลืมตาอ้าปากได้

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,920 วันที่ 7-9 กันยายน พ.ศ. 2566

ทั้ง 4 สมาคมแป้งมันสำปะหลัง พร้อมหน่วยงานภาครัฐเตรียมแถลงข้อมูลการผลิตและผลกระทบจากโรคใบด่าง

https://www.youtube.com/watch?v=2R-GbHWaNDY


ทั้ง 4 สมาคมแป้งมันสำปะหลัง พร้อมหน่วยงานภาครัฐเตรียมแถลงข้อมูลการผลิตและผลกระทบจากโรคใบด่าง นี่กำลังเป็นปัญหาที่กระทบต่ออุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ที่มีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 1 แสนล้านบาท จับตารอบทิศวิเคราะห์ปัญหานี้จากข้อมูลของหลายภาคส่วน ว่าเกิดอะไรขึ้นกับทั้งภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม
#ThaiPBSEsan#จับตารอบทิศ#ใบด่างมันสำปะหลัง#โรงงานแป้งมันสำปะหลัง#อุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง#ส่งออกแป้งมัน

“โรคใบด่าง” มันสำปะหลัง ระบาดหนัก 3 ล้านไร่

 

“โรคใบด่าง” มันสำปะหลัง ระบาดหนัก 3 ล้านไร่

แม้ว่าปีนี้จะเป็นปีทองของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เพราะขายได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 4 บาท เกษตรกรหันมาปลูกกันมากขึ้น แต่ตอนนี้กลับเจอปัญหาสำคัญคือ โรคใบด่างมันสำปะหลัง ทำให้ผลผลิตเสียหาย

ล่าสุด ข้อมูลจากทั้ง 4 สมาคมมันสำปะหลัง ออกมาโต้แย้งข้อมูลของภาครัฐว่า มีการระบาดรุนแรงกว่า ที่กรมส่งเสริมการเกษตรรายงาน และขอให้เร่งแก้ปัญหาที่จะกระทบทั้งต่อภาคอุตสาหกรรม การส่งออก และที่สำคัญคือ เกษตรกรกว่า 7 แสนครัวเรือน

วันนี้ (21 ส.ค.2566) นายบุญชัย ศรีชัยยงพานิช ประธานคณะสำรวจติดตามภาวะการผลิตมันสำปะหลังฤดูการผลิตปี 2566/67 ของ 4 สมาคม คือ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย และ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งข้อสังเกตข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร (9 ส.ค.2566) เปิดเผยสถานการณ์ล่าสุดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง พบพื้นที่การระบาด 20 จังหวัด พื้นที่กว่า 61,000 ไร่

 

แต่ข้อมูลของคณะสำรวจติดตามภาวะการผลิตมันสำปะหลังฤดูการผลิตปี 2566-2567 จาก 4 สมาคม คาดการณ์ว่า มีพื้นที่ระบาดมากกว่านี้หลายเท่า

ข้อมูลของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.ได้ประเมินการระบาดโรคใบด่างในปี 2566 ว่า มีพื้นที่แพร่ระบาด 3 ล้านกว่าไร่ มูลค่าความเสียหายกว่า 11,000 ล้านบาท

ทั้ง 4 สมาคม มันสำปะหลัง คาดว่า ผลผลิตในฤดูใหม่ที่จะถึงนี้มีเพียงประมาณ 20 กว่าล้านตัน เท่านั้นจากที่เคยปลูกได้ 30 กว่าล้านตัน ในขณะที่ความต้องการของตลาดมีสูงกว่า 40 ล้านตัน กระทบต่ออุตสาหกรรมแป้งมัน และการส่งออก โดยในปี 2565 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 170,000 ล้านบาท ประเทศไทยอาจสูญเสียรายได้เข้าประเทศหลายล้านบาท

นายบุญชัยระบุว่า ทางสมาคมฯ ได้เรียกร้องให้กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งได้รับรางวัลเลิศรัฐปี 2565 จากการแก้วิกฤติโรคใบด่างมันสำปะหลัง และตั้งข้อสังเกตว่า การรายงานตัวเลขพื้นที่การระบาดที่น้อยกว่าความเป็นจริง อาจเป็นเงื่อนไขให้ได้รับรางวัล และขอให้เร่งตรวจสอบข้อมูลการระบาดที่แท้จริงในปีนี้ เพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

ก่อนที่จะส่งผลกระทบทั้งต่อภาคอุตสาหกรรม การส่งออก และที่สำคัญคือ เกษตรกรกว่า 7 แสนครัวเรือนที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลัง ก็มีความหวังว่าจะขายมันในช่วงที่ราคาดี

 

นายบุญชัยกล่าวต่อว่า โรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย พบครั้งแรก ในเดือนส.ค.2561 เริ่มระบาดเข้าไทยจากชายแดนเพื่อนบ้าน จนถึงปัจจุบันก็ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ และระบาดไปทั่วประเทศแล้วแพร่ระบาดโดยท่อนพันธุ์ที่มีโรค และแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ ไม่มียารักษา ผลผลิตหัวมันสดที่ลดลง ร้อยละ 40-80 และยังไม่มีพันธุ์ต้านทานที่เหมาะสม

ด้านกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับกรมการปกครอง สำรวจโรคใบด่างในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 54 จังหวัด พร้อมขอให้เกษตรกรทำลายต้นมันที่เป็นโรคใบด่าง ส่วนพื้นที่ที่พบการระบาดรุนแรง เกษตรกรควรเว้นช่วงการปลูกมันสำปะหลัง 1 ฤดูการปลูก เพื่อหยุดวงจรการระบาด โดยเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่อื่นที่เหมาะสม

 

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังที่มีแนวโน้มกลับมาระบาดอีกครั้ง ได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง เร่งดำเนินการควบคุมการระบาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งประสานขอความร่วมมือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน เร่งสำรวจพื้นที่ระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เพื่อทราบสถานการณ์การระบาด

เตรียมแนวทางคัดเลือกแหล่งพันธุ์สะอาด เพื่อใช้สำหรับฤดูการปลูกถัดไป โดยอาจคัดเลือกจากพื้นที่ปลูกที่ยังไม่มีรายงานการระบาดในโซนภาคเหนือ หรือในแปลงใหญ่มันสำปะหลังเป็นหลัก และจัดทำคู่มือบริหารจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลัง และจัดประชุมสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน

สำหรับพื้นที่ที่พบการระบาดรุนแรง เกษตรกรควรเว้นช่วงการปลูกมันสำปะหลัง 1 ฤดูการปลูก เพื่อหยุดวงจรการระบาด โดยเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่อื่นที่เหมาะสมกับพื้นที่และสถานการณ์การผลิต

 

เจ้าหน้าที่จะส่งเสริมการใช้พันธุ์สะอาดและทนทานต่อโรคใบด่าง ได้แก่ ระยอง 72 เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 งดใช้พันธุ์อ่อนแอ ได้แก่ พันธุ์ CMR 43-08-89 และพันธุ์ระยอง 11 และจะ ชการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตรที่ได้รับความเดือดร้อนจากโรคใบด่างมันสำปะหลังตามระเบียบกระทรวงการคลัง และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

หากเกษตรกรพบต้นมันสำปะหลังมีอาการของโรคใบด่างให้เร่งทำลายต้นเป็นโรคก่อนที่แมลงหวี่ขาวยาสูบ จะนำไปแพร่ยังต้นอื่น ๆ ต่อ ด้วยการบดสับต้นเป็นโรคใส่ถุงดำมัดปากให้แน่นแล้วนำไปตากแดดจนกว่าต้นมันสำปะหลังจะตาย หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ทราบทันที

ที่มา : https://www.thaipbs.or.th/news/content/330852

​“จุรินทร์”เป็นประธานลงนาม MOU ซื้อขายมันกับฮ่องกง ตุรกี จีน มูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้าน

img

“จุรินทร์”เปิดงานประชุมสัมมนามันสำปะหลังโลกปี 66 โชว์วิสัยทัศน์ดันไทยเป็นคลังมันสำปะหลังป้อนตลาดโลก พร้อมจัดจับคู่ลงนาม MOU ซื้อขายมันสำปะหลังกับฮ่องกง ตุรกี จีน ปริมาณเกือบ 5 ล้านตันหัวมันสด มูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้านบาท หลังทำสำเร็จขายให้ฟิลิปปินส์ไปก่อนหน้านี้ 2 หมื่นล้านบาท  
         
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในการเป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนามันสําปะหลังโลกปี 2566 (World Tapioca Conference 2023) และปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “นโยบายการบริหารจัดการมันสําปะหลังของไทย” ที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี ว่า จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นเมืองหลวงของมันสำปะหลัง เพาะปลูกและแปรรูปมากที่สุดในประเทศไทย งานนี้มี 5 กิจกรรม ได้แก่ 1.สัมมนาเชิงวิชาการ 2.แลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ด้านการค้ามันสำปะหลัง 3.นิทรรศการมันสำปะหลัง 4.การจับคู่เจรจาธุรกิจ และ 5.การลงนาม MOU ซื้อขายมันสำปะหลังไทยกับต่างประเทศ
         
ทั้งนี้ ในการลงนาม MOU ซื้อขายมันสำปะหลังนั้น ได้ลงนามกับ 3 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง ตุรกี และจีน คิดเป็นปริมาณมันสำปะหลังสดเกือบ 5 ล้านตัน มูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท ถือเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี ที่กระทรวงพาณิชย์ เอกชน ผู้เกี่ยวข้อง และกระทรวงพาณิชย์นำผู้ซื้อจากต่างประเทศมาซื้อมันสำปะหลังไทยล็อตใหญ่ จากก่อนหน้านี้ ได้พาฟิลิปปินส์มาซื้อประมาณ 5 ล้านตันหัวมันสด มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ที่ อ.ปากช่อง โดยปีนี้ขายล่วงหน้าหัวมันสำปะหลังสดได้แล้ว 10 ล้านตัน สร้างเงินให้ประเทศไทยร่วม 40,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ราคามันสำปะหลังปีนี้ดีขึ้น มีช่องทางระบายไปตลาดต่างประเทศ เกิดผลดีกับเกษตรกร
         
นายจุรินทร์กล่าวว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับมันสำปะหลังเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นพืชเกษตรที่ปลูกมากเป็นลำดับที่ 3 ของโลก ประเทศไนจีเรียผลิตประมาณปีละ 63 ล้านตัน คองโกประมาณปีละ 46 ล้านตัน และไทยปีละ 30 ล้านตัน มีเกษตรกร กว่า 500,000 ครัวเรือนทำไร่มันสำปะหลัง และการส่งออกมันสำปะหลัง ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ส่งออกลำดับหนึ่งของโลก ปี 2565 ส่งออกหัวมันสด 37 ล้านตัน ทำเงินให้ประเทศ 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 150,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11%

“ที่ผ่านมารัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผม ได้กำหนดยุทธศาสตร์มันสำปะหลังไทย 5 ปี ตั้งแต่ปี 2564-67 ทั้งการผลิต การตลาด และการแปรรูป เพื่อกำหนดทิศทางที่ชัดเจน พามันสำปะหลังไทยก้าวหน้าในเวทีโลก ด้านการผลิต มีการวิจัยพัฒนา สร้างท่อนพันธุ์ที่มีศักยภาพ ต้านทานโรคใบด่าง ตั้งเป้าผลผลิตไม่น้อยกว่า 5 ตันต่อไร่ ภายในปี 2567 และจะเพิ่มผลผลิตต่อปี จาก 30 ล้านตันเป็น 40 ล้านตัน สนองความต้องการของโลก ด้านการแปรรูป มุ่งเน้นทั้งมันเส้น แป้งมัน สาคู ในอนาคตจะเพิ่มอีกหลายชนิดที่มีศักยภาพและมั่นใจจะครองตลาดโลกมากขึ้น เช่น ไบโอพลาสติก อาหาร เครื่องดื่ม กาว กระดาษ แป้งมันปลอดกลูเตน ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับโลก ด้านการตลาดจะจับมือกับเอกชนเปิดตลาดใหม่ เช่น ฟิลิปปินส์ ที่สำเร็จแล้ว และตุรกี นิวซีแลนด์ นอกจากจีนที่เป็นตลาดหลัก”นายจุรินทร์กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีนโยบายเร่งรัดยกระดับราคามันสำปะหลัง ถือเป็นยุคหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อดีตกิโลกรัมละบาทกว่า ยุคนี้ ราคาพุ่งต่อเนื่อง 2 ปีเต็ม วันนี้ราคามันสำปะหลังที่เชื้อแป้ง 25% อยู่ที่ 3.15-3.50 บาท/กิโลกรัม (กก.) แต่ถ้าวันไหนราคาตกต่ำกว่ากิโลกรัมละ 2.50 บาท มีประกันรายได้เกษตรกร จ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกร โอนเงินส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ตามรายได้ที่ให้หลักประกันกับเกษตรกรผู้ปลูก เพื่อมีรายได้พอยังชีพ ไม่เลิกการปลูกมันสำปะหลัง และให้ประเทศไทยเป็นคลังมันสำปะหลังป้อนโลกต่อไปในอนาคต

สำหรับการประชุมครั้งนี้ จะเป็นเวทีสำคัญให้ทุกประเทศที่ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์กำหนดทิศทางอนาคตมันสำปะหลังไทยและโลกต่อไปในอนาคต โดยประเทศไทยพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกประเทศในโลกเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป และการตลาดมันสำปะหลัง เพราะประเทศไทยมีนโยบาย ทิศทางชัดเจน ในการผลิตมันสำปะหลังคุณภาพและได้มาตรฐานป้อนตลาดโลก และสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมโลกต่อไป

การจัดงานในครั้งนี้ มีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ สมาคมชาวไร่มันสําปะหลังแห่งประเทศไทย สมาคมการค้ามันสําปะหลังไทย (TTTA) สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสําปะหลังไทย (TTPFA) สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสําปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NETTA) และผู้แทนภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม

 

ที่มา : CNN 24 ก.พ. 2566 https://www.commercenewsagency.com/news/5769

​“พาณิชย์”ตั้งเป้าส่งออกข้าวปี 66 ปริมาณ 7.5 ล้านตัน มันสำปะหลัง 9 ล้านตัน

img

 

กรมการค้าต่างประเทศถกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และ 4 สมาคมมันสำปะหลัง ตั้งเป้าส่งออกข้าวปี 66 ปริมาณ 7.5 ล้านตัน และมันสำปะหลัง 9 ล้านตัน หลังปี 65 ส่งออกข้าวทะลุเป้า 7.69 ล้านตัน กลับขึ้นเป็นเบอร์ 2 โลก และมันสำปะหลัง 11.18 ล้านตัน ยังครองแชมป์ แต่มูลค่าทำสถิติสูงสุดในรอบ 15 ปี เผยมีแผนลุยขยายตลาดข้าวและมันสำปะหลังต่อเนื่อง รวมถึงจัดงานข้าวและมันระดับนานาชาติ
         
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้หารือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และตั้งเป้าหมายส่งออกข้าวไทยในปี 2566 ไว้ที่ 7.5 ล้านตัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการซื้อจากต่างประเทศที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีแผนผลักดันการส่งออกข้าวของกระทรวงพาณิชย์ เช่น การจัดประชุม Thailand Rice Convention ของผู้คนในวงการค้าข้าว การจัดคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและเอกชนเดินทางไปเยือนประเทศคู่ค้าสำคัญ และการจัดประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดสำคัญ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม เยอรมนี จีน ออสเตรเลีย เป็นต้น และยังคงเดินหน้ารักษาตลาดเดิม และหาตลาดใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้การส่งออกข้าวไทย ยังเติบโตได้ดี แต่ต้องระวังค่าเงินบาทที่ยังผันผวน และมีแนวโมแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง
         
ส่วนปี 2565 ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 7.69 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 22.06% สูงเกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,971 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 14.67% หรือ 138,451 ล้านบาท เพิ่ม 26.13% โดยไทยเป็นอันดับ 2 ประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก รองจากอินเดีย ที่ส่งออกได้ 21.93 ล้านตัน ส่วนเวียดนาม อันดับ 3 ที่ 6.31 ล้านตัน ส่วนประเทศที่ไทยส่งออกมากที่สุด อันดับ 1 ได้แก่ อิรัก ที่ 1.6 ล้านตัน เพิ่ม 458% หลังจากที่อิรักกลับมานำเข้าข้าวจากไทยอีกครั้งจากที่ไม่ได้นำเข้าปริมาณมากมาหลายปี รองลงมา คือ แอฟริกาใต้ 775,000 ตัน ลด 2.26% จีน 750,000 ตัน เพิ่ม 18.8% สหรัฐฯ 650,000 ตัน เพิ่ม 13.21% และเบนิน 321,000 ตัน ลด 15.38% 

นายรณรงค์กล่าวว่า สำหรับเป้าหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในปี 2566 กรมฯ ได้หารือร่วมกับ 4 สมาคมที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง ได้แก่ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย และสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งเป้าส่งออกไว้ที่ 9 ล้านตัน ลดลงจากปี 2565 ที่ส่งออกได้ 11.18 ล้านตัน ยังคงเป็นแชมป์ส่งออก โดยมีมูลค่า 4,408 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 15 ปี

ทั้งนี้ ปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะลดลงเหลือ 31.7 ล้านตัน จากคาดการณ์เดิม 34.98 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตเสียหายจากน้ำท่วม โรคใบด่าง และภัยแล้ง แต่เชื่อว่าราคาจะยังคงดีขึ้น เพราะผู้ซื้อยังแย่งกันซื้อ เช่น ตุรกี ฟิลิปปินส์ ที่ขอซื้อเข้ามาต่อเนื่อง และยังมีแผนเจาะตลาดเป้าหมาย ทั้งจีน สหภาพยุโรป (อียู) ตุรกี นิวซีแลนด์ อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และซาอุดิอาระเบีย รวมทั้งจัดงานมันสำปะหลังโลก (World Tapioca Conference 2023) ต้นเดือนมี.ค.2566 เพื่อโปรโมตมันสำปะหลังไทย และเป็นเวทีพบปะคนในวงการมันสำปะหลังจากทั่วโลก
         
“ตอนนี้ ราคาหัวมันสดอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 3.25 บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีราคา กก. ละ 2.70 บาท และคาดว่า ราคาจะยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เพราะความต้องการซื้อยังเข้ามาต่อเนื่อง แต่ไม่มีของจะขาย จึงอยากขอให้เกษตรกร อย่าเร่งขุดหัวมันที่ไม่ได้คุณภาพออกขาย เพราะอาจถูกกดราคารับซื้อ และไม่ควรเร่งตัดมันท่อนอ่อน เพื่อนำไปทำพันธุ์เพาะปลูก เพราะจะทำให้ได้มันไม่ได้คุณภาพ และในส่วนของกรมฯ จะเดินหน้าควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังต่อไป ทั้งการส่งออกและนำเข้า”นายรณรงค์กล่าว 

ที่มา : CNN   31 ม.ค. 2566  https://www.commercenewsagency.com/news/5704      






Powered by Allweb Technology.