Company Logo





พยากรณ์อากาศ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

872842
วันนี้58
เมื่อวานนี้393
สัปดาห์นี้58
เดือนนี้1239
ทั้งหมด872842

ข่าวสมาคมฯ

>>"ประกาศจากกรมการค้าภายใน "รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการชดเชยดอกเบี้ย"... ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศกรม หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติการดำเนินโครงการ ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศ รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ  ดาวน์โหลดไฟล์ หนังสือยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงกา...  --อ่านต่อ--
เข้าร่วมประชุม“การผลักดันขยายตลาดส่งออกสินค้ามันสำปะหลังไทย” ร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นางอ... วันนี้ (17 ธ.ค.67) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 9 กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นายปัญญา บุญบันดาลฤทธิ์ นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ เข้าร่วมประชุม“การผ...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

ข่าวทั่วไป

ชาวไร่มันเฮ! ”พิชัย“ จับมือผู้นำเข้ายักษ์ใหญ่จีนสั...         วันที่ 16 มกราคม 2568 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาการซื้อขาย (Purchasing Order) และบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการไทย และบริษัท COFCO BIOTECHNOLOGY CO.,LTD หน่วยงานนำเข้ายัก...  --อ่านต่อ--
​“พาณิชย์”โชว์ผลงานนำทีมขายมันที่เซี่ยงไฮ้-เฉิงตู ...   กรมการค้าต่างประเทศสรุปผลการนำคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและภาคเอกชน เดินทางไปขยายตลาดมันสำปะหลังที่เซี่ยงไฮ้และเฉิงตู ประสบความสำเร็จเกินคาด ตกลงซื้อขาย 4.4 แสนตัน คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.68 ล้านตัน มูลค่า 5,314.95 ล้านบาท เผยยังสามารถเปิดตลาดใหม่ไปส...  --อ่านต่อ--
“พิชัย” เร่งช่วยเกษตรกรชาวไร่มัน ประสานจีนรับซื้อม... นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งไปยังกรมการค้าภายใน และกรมการค้าต่างประเทศ ให้เร่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรชาวไร่มันผ่านหลายมาตรการ และยังได้เร่งประสานให้ทางการจีนเข้ามาช่วยรับซื้อผลผลิตจากมันสำปะหลังเป็นการเร่งด่วน...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

รัฐงัด2แผนดึงเกษตรกรเข้าโซนนิ่ง ปล่อยเงินเกี๊ยว-ปั้นกองทุนอุดหนุนรับราคาตกต่ำ.



แผนโซนนิ่งเร่งระดมข้อมูลจังหวัดหาพื้นที่เหมาะสม-ไม่เหมาะสม แต่ต้องรอยุทธศาสตร์ 4 พืชคลอดก่อน รัฐ-เอกชนออกความเห็น ต้องมีกลไกสร้างแรงจูงใจปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การสนับสนุนของรัฐเพื่อให้เกษตรกรเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสม สมาคมมันสำปะหลังพร้อมรวมกลุ่มเชื่อมต่อคลัสเตอร์กับชาวไร่

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงความคืบหน้าของการจัดเตรียมข้อมูลแผนโซนนิ่งภาคเกษตรว่า ขณะนี้ให้หน่วยงานราชการจังหวัดไปสำรวจพื้นที่ภาคเกษตรที่ถูกจัดโซนตามความเหมาะสม 4 ระดับ (S1-S4) และรายงานกลับมาว่าในพื้นที่มีความต้องการอย่างไร

ส่วนข้อสรุปว่าจะลดหรือเพิ่มพื้นที่ของพืชต่าง ๆ เท่าไหร่จะต้องรอให้แผนยุทธศาสตร์ 4 สินค้าพืช ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และแผนยุทธศาสตร์ข้าวกับยางพาราเสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะกำหนดพื้นที่โซนนิ่งได้

นายชวลิตกล่าวว่า ข้อมูลเบื้องต้นที่ทางกรมพัฒนาที่ดินจัดทำเป็นการโซนนิ่งจากภาพรวมความเหมาะสมของดิน แหล่งน้ำ สภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะมีปริมาณผลผลิตในพื้นที่มากพอตั้งโรงงานเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทาน

เงินเกี๊ยว-รัฐอุดหนุนจูงใจ

นายชวลิตให้ความเห็นว่า แรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกพืชใด ๆ คือเรื่องราคา ซึ่งที่ผ่านมาทำให้เกษตรกรแห่ปลูกจนผลผลิตล้นตลาด การโซนนิ่งจะต้องเปลี่ยนระบบนี้โดยแนะนำให้เกษตรกรเข้าใจระบบตลาดโลกและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ รวมถึงใช้แรงจูงใจแบบเดียวกับระบบเงินเกี๊ยวในพืชอ้อย มีกองทุนของแต่ละพืช หรือใช้เงินสนับสนุนจากรัฐ

ด้านนายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ขณะนี้ไทยมีพื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) และพื้นที่ไม่เหมาะสม (S4) ที่ปลูกข้าวอยู่ 27-28 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ตรงนี้จะปลูกพืชอื่น

โดยแรงจูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงเป็นได้หลายอย่าง เช่น การปรับปรุงดินและน้ำในพื้นที่นั้น ให้ความมั่นใจด้านราคารับซื้อแน่นอน ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สร้างความยั่งยืนให้กับสินค้าพืช แต่จะใช้กลไกอะไรเป็นแรงจูงใจต้องขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ที่กำลังจัดทำอยู่

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมอาหารสัตว์ไทย กล่าวในทิศทางเดียวกันว่า พื้นที่ที่จะจัดโซนนิ่งคือบริเวณที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสม ซึ่งมันสำปะหลังและอ้อยยังมีความต้องการผลผลิตเพิ่ม ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีความต้องการเพิ่มจาก 5 ล้านตันเป็น 8 ล้านตันในอนาคต จะเน้นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ก่อน หากไม่สำเร็จก็จะพิจารณาเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก

นายพรศิลป์กล่าวว่า การจะเปลี่ยนพื้นที่หนึ่ง ๆ ให้ปลูกพืชอย่างอื่นต้องมีการเจรจากันตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งพืชใหม่และพืชเดิมที่เคยปลูกอยู่ ส่วนกลไกจูงใจต้องบริหารความเสี่ยง โดยถ้าราคาตลาดโลกลดต่ำกว่าต้นทุนการผลิต รัฐต้องพร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือเกษตรกร ส่วนถ้าจะทำเป็นลักษณะกองทุนก็ควรทำเป็นกองทุนรวมทุกพืชเศรษฐกิจมากกว่าแยกจากกัน

ส.มันฯหวังตั้งคลัสเตอร์ร่วมชาวไร่

นายเสรี เด่นวรลักษณ์ กรรมการสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สภาหอการค้าไทยต้องการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นมันสำปะหลังประมาณ 2 ล้านไร่ แต่ขณะนี้ยังไม่มีแผนว่าจะใช้พื้นที่ไหน แต่ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติกำลังศึกษาแร่ธาตุในดินที่เหมาะสมปลูกอยู่ และหวังว่ากรมพัฒนาที่ดินจะมีข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้วและพร้อมเปิดเผยให้ทราบ

นายเสรีกล่าวว่า ต้องการให้พื้นที่ปลูกมีลักษณะการรวมกลุ่มระหว่างเกษตรกรกับโรงงาน โดยสมาคมการค้ามันสำปะหลังพร้อมจะประสานกับเกษตรกรที่ต้องการเปลี่ยนมาปลูกมัน เพราะผู้ประกอบการต้องการผลผลิตเพิ่มอยู่แล้ว สามารถหารือกันเพื่อสร้างเป็นคลัสเตอร์

โดย : ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์ 17 ก.ย.57

“สมศักดิ์ ป้องปัญจมิตร” เกษตรกรดีเด่น ต้นแบบปลูกมันน้ำหยด.

สมศักดิ์ ป้องปัญจมิตร

 

นายสมศักดิ์ ป้องปัญจมิตร อายุ 42 ปี เกษตรกรบ้านสมบัติเจริญ ตําบลกุดโบสถ์ อําเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา เป็นเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลังในระบบน้ำหยด จนประสพผลสําเร็จได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นระดับอําเภอ ระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศประจําปี 2556 จนได้รับการคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาอาชีพทําไร่

โดยนายสมศักดิ์ได้เริ่มต้นประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากที่บิดามารดาได้มอบที่ดินทํากินให้พื้นที่ 23 ไร่ แบ่งปลูกต้นไม้สักทองจํานวน 2 ไร่เศษ เพื่อสร้างบ้านเรือน ส่วนพื้นที่ที่เหลือได้ปลูกมันสําปะหลัง ปลูกอ้อยโรงงาน มะม่วง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่เจอปัญหาอุปสรรค ราคาผลผลิตตกต่ำ ปัจจัยการผลิตราคาสูง ภัยแล้ง และโรคแมลงรบกวน จึงประสบภาวะขาดทุนเรื่อยมา

จนกระทั่งปี 2535 นายสมศักดิ์ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่เดิมเป็นที่เพาะปลูกมันสําปะหลังแทน แต่การปลูกแบบเดิมตามฤดูกาลที่ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ทําให้ผลผลิตที่ได้ไม่เป็นไปตามต้องการ

ต่อมาได้รับการแนะนําจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรสํานักงานเกษตรอําเภอเสิงสาง และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของสํานักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา ที่เห็นว่าพื้นที่ของนายสมศักดิ์สามารถขุดบ่อน้ำจากใต้ดินได้ จึงให้ทดลองใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกอร์และแบบน้ำหยด ในแปลงมันสําปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งได้ผลผลิตมากถึง 9 ตันต่อไร่ จากเดิม 4-5 ตันต่อไร่ จึงถือว่าเป็นต้นแบบเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังระบบน้ำหยด

เมื่อมีกําไรมากขึ้นจึงซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 80 ไร่ มีการจัดการระบบน้ำหยด สามารถปลูกมันสําปะหลังได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องรอน้ำฝนและเสี่ยงกับภัยแล้ง ช่วยลดต้นทุนการผลิต จากเดิมปลูกปีละ 1-2 ครั้ง จึงจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ระบบน้ำหยดลงทุนวัสดุอุปกรณ์ โดยใช้งบประมาณ 7 พันบาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุน ระหว่างการปลูกแบบทั่วไปกับปลูกแบบระบบน้ำหยด

การลงทุนต่อไร่ผลสรุปออกมาคือปลูกทั่วไป 6,620 บาท แต่ปลูกระบบน้ำหยดลงทุน 9,935 บาท ผลผลิตที่ได้ปลูกทั่วไป 5 พันกิโลกรัม ปลูกระบบน้ำหยดได้ผลผลิต 1 หมื่นกิโลกรัม ขายราคา 2.30 บาท/กก. ปลูกทั่วไปขายได้เงิน 11,500 บาท ปลูกระบบน้ำหยดขายได้เงิน 23,000 บาท และผลกําไรต่อไร่ ปลูกทั่วไปได้กําไร 4,880 บาท ปลูกระบบน้ำหยดได้กําไร 13,000 บาท แม้ว่าการลงทุนจะสูง ดังนั้นวิธีการปลูกแบบจัดระบบหมุนเวียนให้สามารถเก็บผลผลิตได้ทุกเดือน จึงมีรายได้ตลอดทั้งปี

นายสมศักดิ์และครอบครัวได้น้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน หลังจากประสพผลสําเร็จในการปลูกมันสําปะหลังในระบบน้ำหยด และมีความมั่นคงในอาชีพแล้ว ได้เปิดไร่เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหา และความสําเร็จของการใช้เทคโนโลยีระบบน้ำหยดในไร่มันสําปะหลังให้แก่ภาครัฐ เอกชน เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาของเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังน้ำหยดในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง 110 ราย พื้นที่กว่า 1,530 ไร่

นายเฉลิมศักดิ์ ประสิทธิ์สุวรรณ เกษตรจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเพิ่มเติมว่า จุดเด่นของนายสมศักดิ์

ซึ่งมีความขยัน หมั่นเพียร ใฝ่หา และรับความรู้ตลอดเวลา รวมทั้งมีการประยุกต์และประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรเครื่องมือในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตมาใช้กับแปลงตนเองให้เกิดความเหมาะสม และยังสามารถถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้ จึงเป็นเกษตรกรผู้นําตัวอย่างที่มีแนวคิด วิธีปฏิบัติก้าวหน้า พัฒนาอาชีพเกษตรกรรม พัฒนาชุมชนให้เจริญ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ดี และได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจําปี 2556 สาขาอาชีพทําไร่ โดยจะได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัล ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง

ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง วันที่ 11 กันยายน2557

พาณิชย์-เกษตรชงวาระด่วน!ใส่มือ2รมต.ใหม่

 

 

2 กระทรวงเศรษฐกิจ เตรียมชงวาระเร่งด่วนต่อ 2 รัฐมนตรีว่าการคนใหม่ ก.พาณิชย์ส่งการบ้านเพียบทั้งดูแลค่าครองชีพ ขอความร่วมมือเอกชนตรึงราคาสินค้าถึง ก.พ.58 ดันส่งออก แก้ไขกฎหมายประกอบธุรกิจคนต่างด้าว เร่งระบายข้าวฤดูกาลใหม่ ขยายค้าชายแดนรับ 5 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ขณะก.เกษตรฯไม่น้อยหน้า ฝากแผนดูแลราคาสินค้าเกษตร เยียวยาอุทกภัย-รับมือภัยแล้ง เร่งโซนนิ่ง

altจากที่2 รัฐมนตรีใหม่ประกอบด้วย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเข้าทำงานที่กระทรวงที่รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กันยายน 2557 นั้น นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ได้เตรียมข้อมูลการทำงานเพื่อรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในภารกิจหลักของแต่ละกรมในสังกัดที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการดูแลค่าครองชีพของประชาชน รวมทั้งการค้าระหว่างประเทศ และแนวทางผลักดันการส่งออก อย่างไรก็ดีจากการตรวจสอบของผู้สื่อข่าวพบว่า ในส่วนของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เตรียมเสนอปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 แผนการดูแลเอสเอ็มอี กรมการค้าภายในเสนอต่อมาตรการตรึงราคาสินค้าลดค่าครองชีพต่อไปอีก 3 เดือนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 (จากเดิมการขอความร่วมมือเอกชนจะสิ้นสุด พ.ย.57) ส่วนกรมการค้าต่างประเทศเสนอแผนบริหารจัดการข้าว กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เสนอแผนผลักดันการส่งออกในโค้งสุดท้ายของปีนี้ เป็นต้น

สอดคล้องกับนางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ที่กล่าวว่า แผนบริหารจัดการข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่จะเสนอในครั้งนี้จะเน้นการระบายข้าวในฤดูกาลใหม่ที่จะออกมาในช่วงปลายกันยายน-ตุลาคมนี้ก่อนเพื่อไม่ให้ข้าวเปลือกราคาตก ส่วนข้าวเก่าในสต๊อกจะระบายออกมาในจังหวะที่เหมาะสมไม่เร่งระบายเหมือนครั้งก่อนๆ ทั้งนี้เพื่อให้การระบายได้ราคาที่ดีไม่ถกกดราคาจากผู้ประกอบการ

นอกจากนี้จะเสนอยุทธศาสตร์การค้าชายแดนให้สอดคล้องกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญและมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 5 แห่ง(แม่สอด จ.ตาก ,อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ,คลองใหญ่ จ.ตราด, มุกดาหาร และด่านสะเดา จ.สงขลา) ที่ต้องการเห็นเป็นรูปธรรมในปี2558 ซึ่งหากตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษได้จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านได้อีกมาก

ด้านนายชนุตร์ปกรณ์ วงศ์สีนิล ผู้อำนวยการ องค์การคลังสินค้า(อคส.)เผยว่า เรื่องเร่งด่วนที่จะนำเสนอคือ ต้องการให้เร่งระบายข้าวที่มีอยู่ในสต๊อกทั้งหมดเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายประจำที่เกิดขึ้นจากค่าเก็บรักษาสภาพข้าว

ขณะที่งานเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯคนใหม่ นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า เบื้องต้นมี 3 เรื่องสำคัญคือ 1.การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยสินค้าหลักได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด ที่ต้องเร่งมีมาตรการดูแลที่เป็นรูปธรรม 2.ปัญหาอุทกภัยที่เวลานี้ได้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ซึ่งต้องเร่งรัดการฟื้นฟูเยียวยา และต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี รวมถึงต้องวางแผนรับมือกับภัยแล้งในปีถัดไป และ 3.เรื่องโซนนิ่งภาคเกษตร

"ในยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรแต่ละตัวข้างต้นที่มีปัญหาราคาตกต่ำเรามียุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ระยะสั้น กลาง และยาวแล้ว อยู่ที่ฝ่ายนโยบายเขามาเคาะว่าจะเอาด้วยหรือไม่ ส่วนเรื่องน้ำต้องเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย แต่ที่เป็นประเด็นจริงๆ คือการวางแผนในฤดูแล้งถัดไป เพราะน้ำในเขื่อนใหญ่เวลานี้เฉลี่ยเหลือน้ำใช้การได้อยู่กว่า 20%เท่านั้น"

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 14 - 17  กันยายน 2557

คต. จับมือสมาคมฯ เปิดโลกการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังออนไลน์ (Tapioca E-Market) เสริมกลยุทธ์รุกตลาดมันสำปะหลัง

 

 

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย สมาคมที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง จัดงานเปิดโลกการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังออนไลน์ (Tapioca E-Market) และสรุปผลการสำรวจภาวะการผลิตมันสำปะหลัง ฤดูการผลิตปี 2557/58 ณ โรงแรมพูลแมน พัทยา โฮเต็ล จี จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 5 กันยายน 2557
เพื่อเพิ่มช่องทางการติดต่อระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยกับผู้ซื้อ/ผู้ใช้ ทั้งในและต่างประเทศผ่านเว็บไซด์ https://tapioca.dft.go.th โดยมีรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นางสาวปานจิตต์ พิศวง เป็นประธาน

รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการค้าต่างประเทศมีความมุ่งมั่นที่จะอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการส่งออกให้กับผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทย เพื่อทำให้อนาคตมันสำปะหลังเป็นอุตสาหกรรมที่มั่นคงและสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยอย่างมหาศาล เป็นศูนย์กลาง (HUB) เทคโนโลยีด้านการผลิต การแปรรูป และการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีตลาดที่กว้างและกระจายไปทั่วโลกและเติบโตบนฐานที่มั่นคงแข็งแรง สร้างความอยู่ดีกินดีให้เกษตรกรและผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ เพื่อให้การส่งออกขยายตัวและสามารถแข่งขันได้ กรมการค้าต่างประเทศ จึงได้จัดทำระบบการค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังออนไลน์ผ่านเว็บไซด์ https://tapioca.dft.go.th ขึ้น ซึ่งเว็บไซด์ดังกล่าว ถือเป็นคลังข้อมูลการผลิตและการค้ามันสำปะหลังของไทยและเป็นช่องทางการติดต่อระหว่างผู้ประกอบการมันสำปะหลังของไทยกับผู้ซื้อผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากสื่อออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อระบบการค้าในยุคปัจจุบัน

รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า สำหรับปี 2557 (ม.ค.-ก.ค.) ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ไปแล้ว ปริมาณ 6.45 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 64,674 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และ 22 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกเป็นจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมกระดาษ และอุตสาหกรรมการหมัก (ผงชูรส กรดไลซีน) และนอกจากเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเดิมที่มีอยู่ ความต้องการมันสำปะหลังเพื่อผลิตพลังงาน และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ไบโอพลาสติก ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงนับได้ว่าอุตสาหกรรมมันสำปะหลังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ราคาแป้งมันสำปะหลัง

                                     อ่านทั้งหมด

     

 



       




Powered by Allweb Technology.