Company Logo





พยากรณ์อากาศ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

872529
วันนี้138
เมื่อวานนี้294
สัปดาห์นี้1940
เดือนนี้926
ทั้งหมด872529

ข่าวสมาคมฯ

>>"ประกาศจากกรมการค้าภายใน "รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการชดเชยดอกเบี้ย"... ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศกรม หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติการดำเนินโครงการ ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศ รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ  ดาวน์โหลดไฟล์ หนังสือยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงกา...  --อ่านต่อ--
เข้าร่วมประชุม“การผลักดันขยายตลาดส่งออกสินค้ามันสำปะหลังไทย” ร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นางอ... วันนี้ (17 ธ.ค.67) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 9 กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นายปัญญา บุญบันดาลฤทธิ์ นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ เข้าร่วมประชุม“การผ...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

ข่าวทั่วไป

ชาวไร่มันเฮ! ”พิชัย“ จับมือผู้นำเข้ายักษ์ใหญ่จีนสั...         วันที่ 16 มกราคม 2568 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาการซื้อขาย (Purchasing Order) และบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการไทย และบริษัท COFCO BIOTECHNOLOGY CO.,LTD หน่วยงานนำเข้ายัก...  --อ่านต่อ--
​“พาณิชย์”โชว์ผลงานนำทีมขายมันที่เซี่ยงไฮ้-เฉิงตู ...   กรมการค้าต่างประเทศสรุปผลการนำคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและภาคเอกชน เดินทางไปขยายตลาดมันสำปะหลังที่เซี่ยงไฮ้และเฉิงตู ประสบความสำเร็จเกินคาด ตกลงซื้อขาย 4.4 แสนตัน คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.68 ล้านตัน มูลค่า 5,314.95 ล้านบาท เผยยังสามารถเปิดตลาดใหม่ไปส...  --อ่านต่อ--
“พิชัย” เร่งช่วยเกษตรกรชาวไร่มัน ประสานจีนรับซื้อม... นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งไปยังกรมการค้าภายใน และกรมการค้าต่างประเทศ ให้เร่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรชาวไร่มันผ่านหลายมาตรการ และยังได้เร่งประสานให้ทางการจีนเข้ามาช่วยรับซื้อผลผลิตจากมันสำปะหลังเป็นการเร่งด่วน...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

ชงครม.ไฟเขียวงบ 616 ล้าน พาณิชย์เดินหน้า 14 โครงการอุ้มชาวไร่มัน

พาณิชย์ เตรียมชง ครม. 14 มาตรการช่วยเหลือชาวไร่มันสำปะหลัง เล็งของบประมาณ 616 ล้านบาทบริหารจัดการผลผลิตมันสำปะหลังปี 60/61 พร้อมมาตรการเร่งด่วนดูดซัพพลายเข้าโรงงานเอทานอล 2 ล้านตัน-ดึงโรงแป้งช่วยซื้อหวังดึงราคาหัวมันสดไม่ให้ต่ำกว่า กก.ละ 1.60 บาท

แหล่งข่าวจากวงการมันสำปะหลัง เปิดเผยกับประชาชาติธุรกิจ ว่า ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ กระทรวงพาณิชย์เรียกประชุม 4 สมาคมมันสำปะหลัง และตัวแทนสมาพันธ์ชาวไร่มันสำปะหลัง เพื่อติดตามสถานการณ์ราคามันสำปะหลังในช่วงปลายฤดูการผลิตปี 2559/2560 พร้อมทั้งกำหนดมาตรการช่วยเหลือดูแลบริหารจัดการผลผลิตช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ และเตรียมความพร้อมสำหรับมันสำปะหลังฤดูการผลิตปี 2560/2561 ก่อนที่จะสรุปเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในเดือนนี้

โดยเบื้องต้นมาตรการบริหารจัดการมันสำปะหลังปี 2560/2561 ตามที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) เห็นชอบ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ประกอบด้วยมาตรการระยะปานกลาง 14 มาตรการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต การสนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์รับซื้อและแปรรูปเป็นมันเส้นสะอาด สนับสนุนเครื่องสับมันเพื่อทำมันเส้นสะอาดให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์เพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งสนับสนุนเครื่องชั่งน้ำหนักให้ด่านที่มีการนำเข้ามัน และกำกับดูแลการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน คาดว่าจะใช้วงเงินในการดำเนินการทั้งหมด 616.234 ล้านบาทพร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงปลายฤดูการผลิตปี 2559/2560 ซึ่งก่อนหน้านี้นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้ประชุมกับ4 สมาคมมันสำปะหลัง และตัวแทนสมาพันธ์ชาวไร่มันสำปะหลัง ติดตามผลผลิตช่วงปลายฤดูการผลิตปี 2559/2560 คาดว่าจะมีผลผลิต 31 ล้านตันออกสู่ตลาดแล้วเกินกว่า 82% ทางชาวไร่แจ้งว่าสถานการณ์ราคามันสำปะหลังสด เปอร์เซ็นต์แป้ง 25% ปรับลดลงไปเหลือต่ำสุด กก.ละ 1.55-1.60 บาท ทางกรมจึงประสานให้โรงงานเอทานอลช่วยรับซื้อมันเส้นสับมือโดยตรงจากเกษตรกร 2 ล้านตัน ให้สูงกว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น กก.ละ 30 สตางค์ คาดว่าจะมีโรงงานเอทานอลเปิดเพิ่มอีก 5 แห่งในจังหวัดสุรินทร์ อุดรธานี อำนาจเจริญ สระแก้ว และสกลนคร พร้อมทั้งขอให้ทางโรงงานแป้งขยายระยะเวลาเดินเครื่องเพื่อรับซื้อมันสำปะหลังจากเกษตรกร โดยปกติโรงแป้งจะมีกำหนดปิดปรับปรุงช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งทางโรงแป้งยินดีรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร 

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบปัญหาการนำเข้าตามแนวชายแดน โดยกรมการค้าต่างประเทศได้จัดชุดลงพื้นที่ตามแนวชายแดน ส่วนกรมการค้าภายในกำกับดูแลการขนย้ายในพื้นที่อำเภอที่เพาะปลูกที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปี 2560 จับกุมแล้ว 20 ราย

สำหรับการส่งออกมันสำปะหลัง 4 เดือนแรก (มกราคม-เมษายน) 2560 มูลค่า 32,746.15 ล้านบาท ลดลง 15.14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกหลัก เช่น จีน 20,268.14 ล้านบาท ลดลง 11.57% สัดส่วน 61.89% ญี่ปุ่น 2,694.11 ล้านบาท ลดลง 7.91% สัดส่วน 8.23% อินโดนีเซีย 2,009.67 ล้านบาท ลดลง 54.89% สัดส่วน 6.14% ไต้หวัน 1,452.67 ล้านบาท ลดลง 15.08% สัดส่วน 4.44% และมาเลเซีย 1,341.14 ล้านบาท ลดลง 14.06% สัดส่วน 4.10% โดยราคาส่งออกมันเส้น ตันละ 155-158 เหรียญสหรัฐ ราคาแป้งมัน ตันละ 340 เหรียญสหรัฐ

3บิ๊กหยุดรับซื้อข้าวโพด ต่อรองนำเข้า"ข้าวสาลี"

3 โรงอาหารสัตว์ "CP-แหลมทอง-ลีพัฒนา" ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพดไม่มีกำหนด วงการป่วน พาณิชย์กดดัน ปลดล็อกมาตรการบังคับซื้อ 3 ส่วนแลกสิทธินำเข้าข้าวสาลีต่อ 1 ส่วน สมาคมค้าพืชไร่ชี้ยอมขึ้นราคาได้ไม่ถึง 10 วัน

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเข้ามาว่า เมื่อช่วงเย็นวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา กลุ่มชาวไร่ข้าวโพดได้มีการแชร์ข้อความผ่าน Line เรื่องบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ 3 ราย ประกอบด้วยกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CP) แหลมทอง และลีพัฒนา หยุดการรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกร โดยโรงงานอาหารสัตว์ของ CP ปิดการรับซื้อข้าวโพดทั้งหมด 6 แห่ง ที่ศรีราชา, ราชบุรี, โคกกรวด, ปักธงชัย, พิษณุโลก และลำพูน ได้ประกาศยุติการรับซื้อข้าวโพดอย่างไม่มีกำหนดนับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายนเป็นต้นไป โดยให้เหตุผลง่าย ๆ ว่า "จะปิดปรับปรุงเครื่องจักร"

เรื่องนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่ชาวไร่ข้าวโพดว่า เป็นเรื่องตลกร้ายที่หัวเราะไม่ออกที่อยู่ ๆ โรงอาหารสัตว์จะหยุดปรับปรุงเครื่องจักรพร้อม ๆ กันอย่างนี้ "มันน่าจะเป็นแรงกดดันรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงพาณิชย์มากกว่า เพราะที่ผ่านมาโรงงานอาหารสัตว์พยายามขอให้กระทรวงพาณิชย์ปรับมาตรการขอความร่วมมือให้ซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน เพื่อนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน (มาตรการ 3 : 1) แต่โรงงานอาหารสัตว์พยายามล็อบบี้ ขอให้ยกเลิกหรือปรับลดเงื่อนไขเป็นรับซื้อข้าวโพดในประเทศ 2 ส่วน นำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน" แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ก่อนที่จะมีการกำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลี 3 ต่อ 1 นั้น ที่ผ่านมากลุ่มโรงงานอาหารสัตว์มีการแห่นำเข้าข้าวสาลีเพื่อทดแทนข้าวโพดในสูตรอาหารสัตว์มากเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ราคาข้าวโพดภายในประเทศร่วงอย่างหนักมาแล้ว มาคราวนี้ก็เช่นกัน กลุ่มโรงงานอาหารสัตว์เคยให้เหตุผลว่า แม้จะซื้อข้าวโพดทั้งหมดในประเทศ 4.5 ล้านตัน ด้วยมาตรการ 3 ต่อ 1 หรือคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบข้าวสาลีได้ 1.5 ล้านตันแล้วก็ยังได้วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ข้าวโพด+ข้าวสาลี) มีปริมาณไม่เพียงพอที่จะใช้ในการผลิตอยู่ดี แต่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่มีคำตอบในเรื่องนี้ จนโรงงานอาหารสัตว์รวมตัวกันหยุดรับซื้อข้าวโพดในที่สุด

ด้านนายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นายกสมาคมการค้าพืชไร่ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สมาคมได้รับทราบข้อมูลโรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์ทั้ง 3 รายได้หยุดการรับซื้อข้าวโพดจริง โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560

"การหยุดซื้อข้าวโพดของโรงงานอาหารสัตว์อย่างไม่มีกำหนด ได้ส่งผลกระทบกระเทือนทั้งระบบ ซึ่งในช่วงก่อนที่จะมีการหยุดซื้อ 10 วัน กลุ่มโรงงานอาหารสัตว์ได้มีการปรับขึ้นราคารับซื้อขึ้นไปเป็นกิโลกรัมละ 8.30-8.40 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงสุดในฤดูกาล แต่เป็นช่วงปลายฤดูแล้ว ไม่มีผลผลิตมากนัก แต่หากหยุดไปถึงผลผลิตฤดูกาลใหม่จะออกอีกทีก็คือกลางเดือนสิงหาคมก็อาจจะกระทบอีก แต่ที่สำคัญก็คือ ภายหลังจากที่ขึ้นราคารับซื้อข้าวโพดได้ไม่นานก็มีเกษตรกรแจ้งเข้ามาว่า ขณะนี้มีการปรับขึ้นราคาจำหน่ายอาหารสัตว์ (น้ำหนักบรรจุ 30 กิโลกรัม) ขึ้นเฉลี่ยกระสอบละ 5 บาทด้วย" นายทรงศักดิ์กล่าว

ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดก็คือ กระทรวงพาณิชย์ควรจะต้องออกประกาศให้โรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์ใช้วัตถุดิบในประเทศ หากจะ "ยกเว้น" ให้ใช้วัตถุดิบนำเข้าได้ก็ต่อเมื่อเกิดการขาดแคลนจริง ๆ รวมถึงการใช้มาตรการภาษีนำเข้าเช่นเดียวกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ อย่างเช่น ฟิลิปปินส์มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าข้าวสาลี 35% และมีโควตาด้วย แต่ประเทศไทยกลับลดภาษีนำเข้าเป็น 0% ราคาข้าวโพดไทยจึงต่ำกว่าฟิลิปปินส์ที่ขายกันอยู่ กก. 9.80 บาท

ทั้งนี้ผลผลิตข้าวโพดปี 2560/2561 น่าจะมีปริมาณมากกว่า 4.5 ล้านตัน เพราะหากคำนวณจากประสิทธิภาพของการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ระบุว่า จะสามารถให้ผลผลิตได้ 1,500-1,900 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ 7 ล้านไร่ก็จะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 10.5 ล้านตัน

รายงานข่าวระบุว่า เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2560 ได้มีการประชุมตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ที่เห็นชอบ "ยกเว้น" การใช้มาตรการ 3 : 1 ให้กับบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำ (อาหารกุ้ง) ตามที่ได้สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ร้องขอยกเว้นเพื่อนำเข้าข้าวสาลีสัดส่วนร้อยละ 10% ของกำลังการผลิตจริงมา หรือปริมาณ 150,423 ตันต่อปี ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารกุ้งด้วย มีความจำเป็นจะต้องใช้วีตกลูเตน ซึ่งสกัดจากข้าวสาลี เป็นสารเหนียว เพื่อให้อาหารกุ้งคงทนในน้ำได้นานขึ้น โดยยกเว้นให้กับ 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) CP, บริษัท อินเทคค์ ฟรีด จำกัด, บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด, บริษัทในเครือลีพัฒนา, บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีอาร์เอส ฟีดมิลล์ จำกัด

พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงแนวทางการจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2560/2561 โดยขอความร่วมมือ 1) ให้สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเพื่อการส่งออกรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเพาะปลูกในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท ด้วยความชื้น 14.5% 2) ประสานสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในประเทศ รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิในราคาที่ลดหลั่นตามชั้นคุณภาพ 3) ประสานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงมหาดไทย พิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ในการเลือกปลูกพืชทดแทน เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์เตรียมจัดหาตลาดรองรับต่อไป และ 4) ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ/ผู้รวบรวมที่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่นเพื่อกำกับดูแลและจัดระเบียบผู้ค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ร้อง "ประยุทธ์" เร่งแก้นำเข้าข้าวสาลี "ประพัฒน์" อัด รมว.พาณิชย์บริหารงานผิดพลาด

 

 

"ประพัฒน์" ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติเบรกแตก อัดรัฐมนตรีพาณิชย์ทำหนังสือให้แก้ไขปัญหาการนำเข้าข้าวสาลีที่สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าวหลายครั้งกลับนิ่งเฉย ฟังแต่ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ ชี้บริหารงานผิดพลาดอย่างร้ายแรง

จากกรณีผู้ผลิตอาหารสัตว์ในไทยมีการนำเข้าข้าวสาลีจำนวนมากมาผลิตอาหารสัตว์ ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและชาวนาหลายล้านคนขายผลผลิตในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ล่าสุด ชาวไร่มันสำปะหลังขายหัวมันสดได้เพียง 0.80-1.20 บาท/กก. ขณะที่ต้นทุนการผลิต 1.91 บาท/กก. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่แห้งแล้วชาวไร่ขายได้เพียง กก.ละ 4.50-5.50 บาท ขณะที่มีต้นทุนการผลิต กก.ละ 6.81 บาท 

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ล่าสุดสภาเกษตรกรฯได้ทำหนังสือเรื่องความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ผลิตพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ทั้งข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลังถึงนายกรัฐมนตรีแล้ว เพื่อขอให้ชะลอการนำเข้าข้าวสาลีซึ่งอยู่ในรายการสินค้าและบริการควบคุมปี 2559 ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 ม.ค. 2559 โดยให้มีการกำกับดูแลการนำเข้า ไม่ให้กระทบต่อราคาข้าวโพดและมันสำปะหลังในประเทศ การขอให้ผลักดันการนำผลผลิตพืชคาร์โบไฮเดรตในประเทศ ประกอบด้วยรำข้าว 1.425 ล้านตัน ปลายข้าว 2.375 ล้านตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.57 ล้านตัน มันเส้น 2 ล้านตัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน 1.6 แสนตัน รวม 10.53 ล้านตันมาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาไม่ให้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกรและเพียงพอต่อการครองชีพ และขอให้มีผู้แทนเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตพืชคาร์โบไฮเดรตร่วมในคณะทำงานวางแผนการผลิตและการตลาด วัตถุดิบอาหารสัตว์ครบวงจร เพื่อรักษาผลประโยชน์ที่อาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกพืชคาร์โบไฮเดรตในไทย

ปี 2559 อุตสาหกรรมอาหารสัตว์คาดการณ์ว่าจะผลิตอาหารสัตว์เพื่อใช้ในประเทศและส่งออก 16 ล้านตัน ต้องการพืชคาร์โบไฮเดรตเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ 50-55% ของจำนวนทั้งหมดหรือประมาณ 7-8 ล้านตัน ดังนั้น พืชคาร์โบไฮเดรตในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน 10.53 ล้านตัน จึงเพียงพอต่อการใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ แต่ในปี 2558 ที่ผ่านมา มีการนำเข้าข้าวสาลีสูงถึง 3.467 ล้านตัน และในปี 2559 เดือน ม.ค.-ก.ค.มีการนำเข้า 1.918 ล้านตัน เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2558 ที่นำเข้าเพียง 1.707 ล้านตัน นำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 12%

"เรื่องนี้ไม่เป็นธรรมมากกับสังคมไทยโดยรวม เพราะกระทรวงพาณิชย์เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการอาหารสัตว์ ทำให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์อ่อนลง จากการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ ซึ่งมีผลทำให้เกษตรกรไทยขาดทุน ท้ายที่สุดรัฐต้องเอางบประมาณที่เป็นภาษีประชาชนทุกคนมาชดเชยเยียวยาเกษตรกรนับหมื่นล้านบาท ทั้งที่คนได้เงินได้ประโยชน์คือ ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ที่เป็นคนรวยเพียงหยิบมือ แต่เกษตรกรล่มสลาย ทำไมรัฐไม่ปรับสมดุลการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้เหมาะสมทั้งปริมาณและช่วงเวลาที่นำเข้า" นายประพัฒน์กล่าว

ปีที่ผ่านมา นำเข้าข้าวสาลี 3.6 ล้านตันมากเกินไป ที่นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยบอกว่าจะนำเข้าไม่เกินปีที่ผ่านมา ถือว่ามากไป ส่วนจะจำกัดการนำเข้าแค่ไหน ต้องมาดูราคาข้าวโพด มันสำปะหลัง ถ้ามีผลกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศ ต้องชะลอการนำเข้าและอย่านำเข้าในช่วงจังหวะที่ผลผลิตในประเทศออกสู่ตลาด ตอนที่มีการนำเข้ามาจนล้นสต๊อก ไม่ต้องซื้อวัตถุดิบในประเทศก็พอใช้อยู่แล้ว ซึ่งไทยใช้วัตถุดิบพวกแป้งปีหนึ่งประมาณ 6 ล้านตันเท่านั้น ล่าสุดชาวไร่ข้าวโพดที่ลำปางขายได้ กก.ละ 3-4 บาทเท่านั้น

ส่วนประเด็นที่สภาเกษตรกรฯจะขอเจรจากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นั้น นายประพัฒน์กล่าวว่า รัฐมนตรีพาณิชย์ไม่เคยรับฟัง ทำหนังสือไปหาหลายครั้งก็ไม่ตอบกลับมา จนต้องทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีแทน แต่ถ้าท่านนายกรัฐมนตรีไม่ฟัง ก็สุดแล้วแต่เกษตรกร หมดหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติแล้ว สภาเกษตรกรฯไม่มีหน้าที่เอาม็อบไปเคลื่อนไหว เกษตรกรจะขับเคลื่อนเองก็แล้วแต่ ผมไม่มีหน้าที่แล้ว มีแต่เอาความเดือดร้อนของเกษตรกรมารวบรวมทำเอกสารเสนอไปยังรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ถ้ารัฐบาลเอาไปแก้ไขก็ขอบคุณที่ทำประโยชน์แก่ประเทศโดยรวมถ้าไม่แก้ไข ก็จะบอกเกษตรกรว่า สภาเกษตรกรฯทำหน้าที่เต็มที่แล้ว

"คนรวยมีหยิบมือเดียว แต่คนล่มสลายล้มละลายมีหลายล้านครัวเรือน รัฐบาลต้องเอาเงินงบประมาณมาเยียวยา ถ้าเป็นรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ผมเชื่อมั่นว่า เกษตรกรปิดทำเนียบ ปิดกระทรวงพาณิชย์ ปิดศาลากลางไปแล้ว เพราะเดือดร้อนกันมากตอนนี้เกษตรกรอดทนอดกลั้นเพราะเราเชื่อว่านายกรัฐมนตรีคนนี้มีความจริงใจกับประเทศนี้ ยังไม่อยากสร้างภาระให้กับท่านนายกรัฐมนตรี แต่ในส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กลับไม่ฟังเราเลย ทำหนังสือไปหาหลายครั้ง กลับไม่แก้ไข ฟังแต่ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ที่เป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ไม่กี่ราย ถือว่าท่านบริหารงานผิดพลาดอย่างร้ายแรง ควรที่จะปรับสมดุลการนำเข้าโดยเร็ว" นายประพัฒน์กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศหลายชนิด โดยสมาคมพืชไร่ชี้แจงว่า การที่ผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ได้นำเข้าวัตถุดิบข้าวสาลี ส่งผลกระทบต่อข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง เนื่องจากผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์หยุดรับซื้อผลผลิตจากผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ส่งผลกระทบต่อการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร ส่วนผู้ประกอบการค้ามันสำปะหลัง 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือและสมาคมแป้งมันสำปะหลังแจงว่า ส่งผลกระทบในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรภายในประเทศประมาณ 2 ล้านตัน/ปี ขณะที่ผู้ประกอบการค้าข้าวไทยแจ้งว่า ส่งผลกระทบต่อการใช้วัตถุดิบรำข้าว ส่งผลกระทบต่อราคาข้าวที่จะรับซื้อจากเกษตรกร

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 30 มิ.ย. 60

ไฟเขียวงบ2.28หมื่นลบ. ให้โครงการ9101ตามรอยเท้าพ่อ

 

"ครม." อนุมัติงบ 22,800 ล้านบาทสำหรับโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน พร้อมหนุนเงินลงทุนเริ่มต้นให้ชุมชน 9,101 แห่ง แห่งละ 2.5 ล้านบาท

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. อนุมัติโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ที่เป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายของเกษตรกรในระดับฐานราก และช่วยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการสนับสนุนเงินลงทุนเริ่มต้นให้กับเกษตรกรในชุมชน 9,101 แห่ง แห่งละ 2.5 ล้านบาท รวม 22,800 ล้านบาท โดยคาดการณ์จะมีเกษตรกรได้ประโยชน์ 4 ล้านคน จากจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรประมาณ 5-6 ล้านคน โดยแต่ละชุมชนจะต้องเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อยชุมชนละ 500 คน 

โดยในโครงการเกษตรกรจะต้องดำเนินการ 8 โครงการ ตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การทำปาร์มชุมชน การเลี้ยงสัตว์เล็ก การทำประมง และการปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งแต่ละชุมชนสามารถเลือกทำโครงการที่ต้องการได้ โดยหลังจากครม.อนุมัติ จะสามารถขับเคลื่อนงานทันทีและชุมชนจะได้รับเงินไม่เกิน 15 ก.ค. 2560 เนื่องจากขณะนี้มีคณะทำงานที่มีนายอำเภอเป็นประธาน ร่วมกับอบต.และเกษตรจังหวัดเข้ามามีส่วนในการคัดเลือกเกษตรกรที่มีรายได้น้อย และขึ้นทะเบียนไว้แล้ว 

ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าจ้างในการดำเนินโครงการตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าโครงการ โดยได้มีการกำหนดเงินค่าจ้างของเกษตรกรจะต้องไม่ต่ำกว่า 50% ของ 2.5 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นค่าบริหารจัดการ โดยหลังจากนั้นจะต้องช่วยกันบริหารโครงการให้เดินหน้าทุกแห่งให้ได้ภายใน 60 วัน ซึ่งคณะทำงานแต่ละชุมชนอาจจะตั้งกองทุนเพื่อบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่ได้ และต่อยอดเงินลงทุนเพื่อหมุนเวียนเงินในโครงการให้เดินหน้าต่อไปได้ 

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ยืนยันโครงการนี้ ไม่ใช่โครงการแจกเงินให้กับเกษตรกรเหมือนที่ผ่านมา แต่เป็นการนำเงินลงไปเป็นทุนต่อยอดเพื่อให้เกษตรกรรู้จักเรียนรู้ ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. กว่า 882 แห่งทั่วประเทศ และพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน นับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานรากที่ได้มากกว่าการใส่เงินลงสู่ระบบเพียงแค่ครั้งเดียว 

"เราเริ่มทำปีนี้ปีแรก เพราะไม่อยากให้เงินแบบแจกเหมือนรัฐบาลที่ผ่านๆมา ซึ่งโครงการ 9101 นี้ 9 หมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ(ร.9), 10 หมายถึง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร(ร.10) และ 1 หมายถึงปีที่ 1 ในรัชกาลปัจจุบัน เป็นโครงการตามรอยพ่อว่าจะทำให้การเกษตรยั่งยืนขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเกษตรกรจะเรียนรู้ พึ่งพาตัวเองจากเงินตั้งต้นส่วนนี้ จากนั้นถ้าได้ผลผลิตล็อตนี้มา ก็ให้เขาบริหารจัดการกันเอง อาจจะตั้งกองทุนขึ้นมาบริหารสินค้าและรายได้กันเอง "พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว

 

ราคาแป้งมันสำปะหลัง

                                     อ่านทั้งหมด

     

 



       




Powered by Allweb Technology.