Company Logo





พยากรณ์อากาศ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

872547
วันนี้156
เมื่อวานนี้294
สัปดาห์นี้1958
เดือนนี้944
ทั้งหมด872547

ข่าวสมาคมฯ

>>"ประกาศจากกรมการค้าภายใน "รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการชดเชยดอกเบี้ย"... ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศกรม หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติการดำเนินโครงการ ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศ รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ  ดาวน์โหลดไฟล์ หนังสือยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงกา...  --อ่านต่อ--
เข้าร่วมประชุม“การผลักดันขยายตลาดส่งออกสินค้ามันสำปะหลังไทย” ร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นางอ... วันนี้ (17 ธ.ค.67) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 9 กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นายปัญญา บุญบันดาลฤทธิ์ นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ เข้าร่วมประชุม“การผ...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

ข่าวทั่วไป

ชาวไร่มันเฮ! ”พิชัย“ จับมือผู้นำเข้ายักษ์ใหญ่จีนสั...         วันที่ 16 มกราคม 2568 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาการซื้อขาย (Purchasing Order) และบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการไทย และบริษัท COFCO BIOTECHNOLOGY CO.,LTD หน่วยงานนำเข้ายัก...  --อ่านต่อ--
​“พาณิชย์”โชว์ผลงานนำทีมขายมันที่เซี่ยงไฮ้-เฉิงตู ...   กรมการค้าต่างประเทศสรุปผลการนำคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและภาคเอกชน เดินทางไปขยายตลาดมันสำปะหลังที่เซี่ยงไฮ้และเฉิงตู ประสบความสำเร็จเกินคาด ตกลงซื้อขาย 4.4 แสนตัน คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.68 ล้านตัน มูลค่า 5,314.95 ล้านบาท เผยยังสามารถเปิดตลาดใหม่ไปส...  --อ่านต่อ--
“พิชัย” เร่งช่วยเกษตรกรชาวไร่มัน ประสานจีนรับซื้อม... นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งไปยังกรมการค้าภายใน และกรมการค้าต่างประเทศ ให้เร่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรชาวไร่มันผ่านหลายมาตรการ และยังได้เร่งประสานให้ทางการจีนเข้ามาช่วยรับซื้อผลผลิตจากมันสำปะหลังเป็นการเร่งด่วน...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

ญี่ปุ่นหนุนไทยผลิต “เอทานอล” จากกากมันสำปะหลัง



ดร.ซาดะโอะ วาซะกะ ตัวแทนจากเนโด
ลงนามบันทึกความเข้าใจการสนับสนุนงบประมาณ 276 ล้านบาทในโครงการสาธิตการผลิตเอทานอลจากกากมันสำปะหลังในประเทศไทย ร่วมกับ นายศุภชัย หล่อโลหการ

หลังจากดำเนินโครงการมาร่วม 5 ปี
ในที่สุดหน่วยงานด้านพลังงานใหม่และอุตสาหกรรมจากญี่ปุ่นได้ลงนามสนับสนุนการผลิตเอทานอลจากกากมันสำปะหลังเป็นเงินกว่า 270 ล้านบาท พร้อมถ่ายทอดงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น และตั้งเป้าขยายผลไปทั่วโลก

องค์การพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น หรือ เนโด (NEDO) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช.ในการสนับสนุนงบประมาณ 276 ล้านบาทแก่ประเทศไทย ภายใต้โครงการสาธิตการผลิตเอทานอลจากกากมันสำปะหลังในประเทศไทย ซึ่ง บริษัท เอี่ยมบูรพา เอทานอล จำกัด บริษัทเอกชนของไทยเป็นผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี คือ ระหว่างปี 2556-2559

ภายใต้โครงการดังกล่าว เนโดได้ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่ บริษัท ซัปโปโร บริวเวอรี จำกัด และ บริษัท อิวาตะ เคมิคัล จำกัด เพื่อผลิตเครื่องจักรสำหรับผลิตเอทานอลจากกากมันสำปะหลังแก่ บริษัท เอี่ยมบูรพา เพื่อสร้างโรงงานต้นแบบที่ผลิตเอทานอลได้ 800 ลิตรต่อครั้งการผลิต โดยใช้ยีสต์ทนความร้อนสูงที่วิจัยและพัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยยามากูจิ (Yamaguchi University) ญี่ปุ่น ระหว่างปี 2550-2553 ส่วนเอี่ยมบูรพาในฐานะผู้ประกอบการไทยจะเป็นผลงทุนในส่วนของการก่อสร้างอาคารโรงงานต้นแบบและสาธารณูปโภค

นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอี่ยมบูรพา ให้สัมภาษณ์ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่า ทางบริษัทผลิตแป้งมันสำปะหลังมาร่วม 20 ปี โดยทั้งจำหน่ายในประทศและส่งออกไปยังไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีน แต่ในกระบวนการผลิตนั้นเกิดกากมันสำปะหลังถึง 40% ของมันสำปะหลังที่รับซื้อ โดยเฉพาะโรงงานที่ จ.สระแก้ว รับซื้อมันถึงวันละ 2,000 ตัน จึงเหลือกากมันถึงวัน 800 ตัน จึงอยากสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กากที่เหลือ

“จะนำไปทำอาหารสัตว์ได้ไหม หรือผลิตเป็นพลังงานได้ไหม ซึ่งโชคดีที่ สนช.ได้เสนอชื่อให้ทางเนโดเพื่อร่วมพัฒนาการผลิตเอทานอลจากกากมันสำปะหลังร่วมกับเนโด นับแต่สนใจและเริ่มคุยก็เป็นเวลา 5 ปี และได้ถูกคัดเลือกให้เป็นตัวแทนผู้ประกอบการเมื่อ 2 ปีที่แล้ว จากนั้นได้ทดลองส่งกากมันปะหลังไปให้ทางญี่ปุ่น คือ เนโดและมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นทดลอง เอาเชื้อเข้าสู่กระบวนการหมัก ในส่วนหัวเชื้อจากญี่ปุ่นในขณะนี้ยังไม่ต้องซื้อ และต้องดูต่อไปว่าจะนำเอทานอลไปใช้อะไรต่อ เพราะกำลังที่ผลิตได้เพียงแค่ 800 ลิตร ซึ่งน้อยเกินไป หากจะคุ้มทุนต้องผลิตได้ 200,000 ลิตรขึ้นไป” นางจิตรวรรณ กล่าว

ทางด้าน ดร.ซาดะโอะ วาซะกะ (Dr.Sadao Wasaka) กรรมการบริหารระดับสูงของเนโดกล่าวถึงประโยชน์ 2 อย่างที่จะได้จากการสนับสนุนการผลิตเอทานอลจากกากมันสำปะหลังนี้ว่า อย่างแรก จะเป็นประโยชน์ต่อไทยในการใช้เอทานอล อย่างที่สอง คือ เทคโนโลยีที่พัฒนาในไทยครั้งนี้ ทางญี่ปุ่นจะได้ขยายผลต่อไปทั่วโลก โดยเริ่มจากการพัฒนาในไทยก่อน ส่วนข้อจำกัดในการผลิตเอทานอลของญี่ปุ่นคือไม่มีวัตถุดิบ ซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้าเอทานอลจากบราซิล เพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ต่อไปอาจจะซื้อเอทานอลที่ผลิตได้ความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่งเป็นเอทานอลเกรดพลังงานที่สามารถนำไปผสมน้ำมันได้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ /17 ธค.55

ศูนย์วิจัยธ.ก.ส.เผย6สินค้าเกษตรดาวรุ่ง



ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.ประเมินเศรษฐกิจไทยปีหน้าขยายตัว 4.4-4.6% ระบุเศรษฐกิจภาคเกษตรพุ่ง 3% รับอานิสงส์ 6 สินค้าเกษตรหลักราคาปรับเพิ่มขึ้น

นายสมศักดิ์ กังธีระวัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงผลวิจัยสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2556 ของศูนย์วิจัยธ.ก.ส. คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตรา 4.4-4.6% ซึ่งยังมีความเสี่ยงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบางจากปี 2555 ส่งผลให้อุปสงค์ของตลาดต่างประเทศชะลอตัว ต้องอาศัยกำลังซื้อจากผู้บริโภคภายในประเทศเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น อาทิ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย

ด้านเศรษฐกิจภาคเกษตรไทยในปี 2556 นั้น มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในระดับ 3% เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรขยายตัวในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะสินค้าในหมวดพืชผลและปศุสัตว์ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในตลาดเกิดใหม่ อาทิ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ จัดเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง เป็นเป้าหมายใหม่ในการส่งออกสินค้าเกษตร ผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวได้มากขึ้น

"ทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกเริ่มปรับตัวลดลง รวมทั้งมาตรการผ่อนคลายทางการเงินจากการลดดอกเบี้ยนโยบาย จะช่วยลดต้นทุนผู้ประกอบการในภาคเกษตรได้เป็นอย่างดี"

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจการเกษตรไทยอาจต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้สินค้าเกษตรบางกลุ่มมีแนวโน้มราคาขยับสูงขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยและน้ำตาลทราย ไก่เนื้อและกุ้งขาวแวนนาไม สำหรับ ยางพาราและสุกร อาจมีความเสี่ยงด้านราคา

ทั้งนี้ มันสำปะหลัง มีราคาอยู่ที่ 2-2.75 บาทต่อกก.สูงขึ้นจากปีนี้ 5-10% เป็นผลจากความต้องการอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น ซึ่งมันสำปะหลังยังใช้สำหรับพลังงานทดแทนได้ด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาปรับมาอยู่ที่ 9.50-13.00 บาทต่อกก.หรือเพิ่มขึ้น 2.5% เนื่องจากมีความต้องการในอุตสาหกรรมอาหาร สำหรับอ้อยโรงงานและน้ำตาลทราย ราคาปรับขึ้นมาอยู่ที่ 14.40 -15.56 บาทต่อกก.หรือ 6.7% จากความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึง พลังงานทดแทน

ทางด้าน ไก่เนื้อ ราคาปรับมาอยู่ที่ 45-55 บาทต่อกก.เพิ่มขึ้น 2.9-3.2% เป็นผลจากการผลิตลดลงในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ ต่างประเทศมีความต้องการไก่สดแช่แข็งจำนวนมาก กุ้ง ราคาปรับมาอยู่ที่ 142-146 บาทต่อกก.เพิ่มขึ้น 5-8% จากความต้องการในต่างประเทศ

สำหรับข้าวเปลือก ราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ 13,500-14,800 บาทต่อตัน เพิ่มขึ้นจากปีนี้ 2.5-3.5% เพราะมีแนวโน้มประสบภาวะภัยแล้งมากขึ้น ขณะที่ความต้องการข้าวในต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ส่วนราคายางพารา อยู่ที่ 79-90 บาทต่อกก.ลดลง 3% เพราะยอดการส่งออกไปจีนลดลง ส่วนสุกร ราคาอยู่ที่ 55-58 ต่อกก.ลดลง 3.5-4% เพราะผลผลิตเพิ่มขึ้น

ศูนย์วิจัยธ.ก.ส. ยังสำรวจความคิดเห็นของเกษตรจากทุกภาคทั่วประเทศภายใต้หัวข้อ ”ความสุขของเกษตรกรไทย” พบว่า มุมมองความสุขของเกษตรกรไทยอันดับที่ 1 คือ ความสุขจากการมีรายได้ที่แน่นอน มีเงินออมและไม่มีหนี้สิน คิดเป็น 25% ของผลสำรวจทั้งหมด อันดับ 2 ความสุขจากการมีบ้านที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองท่ามกลางเรือกสวนไร่นาที่เป็นของตนเอง คิดเป็น 20.1%

อันดับ 3 ความสุขจากการมีหลักประกันสุขภาพได้มาตรฐานเท่าเทียมกับโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ คิดเป็น 19.8% อันดับ 4 ความสุขจากการที่สินค้าเกษตรของตนสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงทั้งในและต่างประเทศ คิดเป็น 17.7% และ อันดับที่ 5 ความสุขจากการมีพืชผลทางการเกษตรที่เจริญงอกงามพร้อมกับการมีประกันภัยพืชผลทางการเกษตรจากความเสี่ยงสภาพอากาศที่แปรปรวนคิดเป็น 17.4%

หน่วยงานส่วนที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการเข้ามาดูแลในเรื่องดังกล่าว เช่น การประกันภัยพืชผลการเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น” นายสมศักดิ์กล่าวและว่า สำหรับแผนงานวิจัยในปีต่อไป จะเน้นการสำรวจผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน เพื่อให้เกษตรกรเตรียมตัวรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์‏

โครงการจำนำมันสำปะหลังอืด อคส.ชี้ราคาใกล้เคียงกับตลาด



นายสมศักดิ์ วงศ์วัฒนศานต์ รองผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเปิดรับจำนำมันสำปะหลัง ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 2555/2556 ว่า ตั้งแต่เปิดรับจำนำมันเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2555 ล่าสุดเกษตรกรนำมันมาจำนำแล้วคิดเป็นมันเส้นปริมาณ 3 แสนตัน จากเป้าหมายการรับจำนำมันตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จำนวน 10 ล้านตัน?แบ่งเป็นการแปรรูปเป็นมันเส้นและแป้งมัน 8.4 ล้านตัน และนำไปใช้ในการผลิตเป็นเอทานอลอีก 1.6 ล้านตัน

 อย่างไรก็ตาม เกษตรกรนำมันมาเข้าร่วมโครงการจำนำยังไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคารับจำนำกับราคาตลาดไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งการเปิดโครงการจำนำก็เพื่อต้องการพยุงราคาไม่ให้ต่ำไปกว่านี้ โดยราคาจำนำอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 2.65 บาท ที่เชื้อแป้ง 25% ส่วนราคาตลาดขณะนี้อยู่ที่กก.ละ 2.60-2.63 บาท ขณะที่ผลผลิตในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่กว่า 20-25?ล้านตัน ราคาเพิ่มเล็กน้อยประมาณ 3-4%

“มันจากโครงการรับจำนำปีก่อนนั้น ขณะนี้ยังคงมีเหลือค้างโกดัง 1 ล้านกว่าตัน เป็นมันเส้น และแป้งมันอีก 5 แสนกว่าตัน จากจำนำทั้งหมด 7 แสนตันซึ่งปีก่อนคุณภาพทางกายภาพมีปัญหาสีที่อาจเปลี่ยนไปซึ่งคาดว่ารัฐบาลน่าจะมีนโยบายในการระบายออกไปในวิธีการต่างๆ ที่ผ่านมามีการทำแบบจีทูจี หรือรัฐต่อรัฐ”นายสมศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้โครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 2555/2556 เริ่มเปิดโครงการล่าช้า จากเดิมที่ควรเปิดเดือนตุลาคม 2555 แต่มาเริ่มได้วันที่ 1 ธันวาคม 2555 ซึ่งเดิมกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้ารับจำนำ 15 ล้านตันใช้เงินทุนหมุนเวียนและเงินจ่ายขาด 1.5 หมื่นล้านบาทแต่คณะกรรมการกลั่นกรองการรับจำนำไม่เห็นด้วย และให้ปรับลดปริมาณเหลือ 10 ล้านตันเท่ากับปีก่อน ในวงเงิน 3.98 หมื่นล้านบาท


ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า  วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม 2555

ราคาแป้งมันสำปะหลัง

                                     อ่านทั้งหมด

     

 



       




Powered by Allweb Technology.