
ข่าวสมาคมฯ
![]() >>"ประกาศจากกรมการค้าภายใน "รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการชดเชยดอกเบี้ย"...
ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศกรม หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติการดำเนินโครงการ
ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศ รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ
ดาวน์โหลดไฟล์ หนังสือยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงกา...
![]() |
![]() ประกาศฯ โครงการเพิ่มช่องทางตลาดสินค้าพืชไร่ ปีการผลิต 2567/68...
ดาวน์โหลดไฟล์ >>>> คลิก...
![]() |
![]() เข้าร่วมประชุม“การผลักดันขยายตลาดส่งออกสินค้ามันสำปะหลังไทย” ร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นางอ...
วันนี้ (17 ธ.ค.67) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 9 กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
นายปัญญา บุญบันดาลฤทธิ์ นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ เข้าร่วมประชุม“การผ...
![]() |
ข่าวทั่วไป
![]() ชาวไร่มันเฮ! ”พิชัย“ จับมือผู้นำเข้ายักษ์ใหญ่จีนสั...
วันที่ 16 มกราคม 2568 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาการซื้อขาย (Purchasing Order) และบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการไทย และบริษัท COFCO BIOTECHNOLOGY CO.,LTD หน่วยงานนำเข้ายัก...
![]() |
![]() “พาณิชย์”โชว์ผลงานนำทีมขายมันที่เซี่ยงไฮ้-เฉิงตู ...
กรมการค้าต่างประเทศสรุปผลการนำคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและภาคเอกชน เดินทางไปขยายตลาดมันสำปะหลังที่เซี่ยงไฮ้และเฉิงตู ประสบความสำเร็จเกินคาด ตกลงซื้อขาย 4.4 แสนตัน คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.68 ล้านตัน มูลค่า 5,314.95 ล้านบาท เผยยังสามารถเปิดตลาดใหม่ไปส...
![]() |
![]() “พิชัย” เร่งช่วยเกษตรกรชาวไร่มัน ประสานจีนรับซื้อม...
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งไปยังกรมการค้าภายใน และกรมการค้าต่างประเทศ ให้เร่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรชาวไร่มันผ่านหลายมาตรการ และยังได้เร่งประสานให้ทางการจีนเข้ามาช่วยรับซื้อผลผลิตจากมันสำปะหลังเป็นการเร่งด่วน...
![]() |
ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
- Details
- Category: ข่าวเด่น
- Published on Monday, 04 February 2013 08:09
- Written by ผู้ดูแลระบบ
- Hits: 5407
เรื่อง การควบคุมการขนย้ายหัวมันสำปะหลังสดและมันเส้น ปี 2556
ดาวน์โหลดไฟล์ .pdf >>>>
ประกาศสำนักคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
- Details
- Category: ข่าวเด่น
- Published on Monday, 04 February 2013 08:21
- Written by ผู้ดูแลระบบ
- Hits: 4664
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาต
การอนุญาต แบบหนังสืออนุญาตและวิธีการขนย้ายหัวมันสำปะหลังสดและมันเส้น ปี 2556
ก.เกษตรฯประกาศเขตโซนนิ่งข้าว-มัน-ยาง-ปาล์ม-อ้อย-ข้าวโพด
- Details
- Category: ข่าวเด่น
- Published on Friday, 08 February 2013 02:30
- Written by ผู้ดูแลระบบ
- Hits: 4708
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช 6 ชนิดได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เรียบร้อยแล้ว
สำหรับเขตเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมีทั้งสิ้น 75 จังหวัด 793 อำเภอ 5,669 ตำบล แบ่งเป็น ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ภาคกลาง 18 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยโรงงาน 51 จังหวัด 432 อำเภอ 2,369 ตำบล แบ่งเป็น ภาคกลาง 11 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด ภาคเหนือ 14 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รวมทั้งสิ้น 42 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด
ขณะที่พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกยางพารามีทั้งสิ้น 68 จังหวัด 499 อำเภอ 2,251 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด เขตเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลังมีทั้งสิ้น 49 จังหวัด 478 อำเภอ 2,314 ตำบล แบ่งเป็น ภาคกลาง 9 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด ภาคเหนือ 14 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และสุดท้ายคือเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน มีทั้งสิ้น 26 จังหวัด 185 อำเภอ 856 ตำบล แบ่งเป็น ภาคกลาง 5 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และภาคใต้ 14 จังหวัด
โดยหลังจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะจัดส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำการผลิตหรือการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสม มีปริมาณการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สามารถรักษาเสถียรภาพของระดับราคาผลผลิตทางการเกษตร และยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้น
“การประกาศกำหนดเขตเหมาะสมสำหรับปลูกพืช 6 ชนิดในครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลที่สำคัญในการให้เกษตรกรพิจารณาและตัดสินใจร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯในพื้นที่ เพื่อให้การเพาะปลูกของตัวเองเกิดความเหมาะสมและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ก็ต้องมีการพิจารณาหามาตรการจูงใจให้เกษตรกรหันมาปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเรื่องน้ำ หรือปัจจัยการผลิตอื่นๆ ควบคู่ด้วย“นายยุคล" กล่าว
ที่มา : ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
ส่งออกมันสำปะหลังปี’56โตได้.. แต่ก็ยังมีปัจจัยท้าทายที่ต้องคำนึงถึง...
- Details
- Category: ข่าวเด่น
- Published on Monday, 11 February 2013 03:46
- Written by ผู้ดูแลระบบ
- Hits: 6258
บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์เรื่อง การส่งออกมันสำปะหลัง ของไทยในปี 2556 โดยระบุว่ามูลค่าการส่งออกมันสำปะหลังของไทย จะขยายตัวร้อยละ14.0-18.0 (YoY) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,200-1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 11.9 ในปี 2555 โดยประเมินว่า จีนจะยังคงเป็นตลาดส่งออกหลักของมันสำปะหลังไทย(โดยเฉพาะมันเส้น) อย่างต่อเนื่อง ด้วยมูลค่าไม่ต่ำกว่าในปี 2555 ที่อยู่ที่ 1,074 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 98 ของมูลค่าการส่งออกมันสำปะหลังทั้งหมดของไทย และไทยสามารถครองมูลค่าส่วนแบ่งตลาดในจีนได้ถึงร้อยละ 68.9 ของมูลค่าการนำเข้ามันสำปะหลังทั้งหมดของจีน
ทั้งนี้ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกมันสำปะหลังของไทยในปี 2556 ให้ขยายตัวได้ประกอบด้วย 1.ความต้องการใช้มันสำปะหลังของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งในอุตสาหกรรมอาหารและพลังงาน เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย ทำให้การส่งออกของจีนปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนโดยผ่านการบริโภคภายในประเทศ ทำให้คาดว่าในปี 2556 จะมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งส่งผลต่อความต้องการนำเข้ามันสำปะหลังไทยที่เพิ่มขึ้น
และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทนของจีน ตามแผนการพัฒนาประจำปี 2554-2559 ของจีน กำหนดให้มันสำปะหลังเป็นสินค้าสำคัญในแผนและเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอันดับแรก เนื่องด้วยมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตเอทานอล และผลจากการที่ภาครัฐของจีนประกาศปรับโครงสร้างราคาพลังงาน เพื่อให้ราคาขายสะท้อนใกล้เคียงกับราคาต้นทุน ทั้งในส่วนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับรถยนต์ (เอ็นจีวี) และก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี)ทำให้ความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อนำไปผลิตเอทานอลเป็นพลังงานทดแทนมีมากขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจจีน
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ จีนยังนำมันสำปะหลังไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม
แป้งและการผลิตบะหมี่โดยเฉพาะที่มณฑลหูเป่ย (นครเทียนจิน) ซึ่งเป็นฐานการผลิตบะหมี่ใหญ่ที่สุดในจีน ทั้งนี้ ยอดการใช้
มันสำปะหลังของมณฑลหูเป่ยราว 8 แสนตันขณะที่นำเข้าจากไทยเพียง 5-6 หมื่นตันต่อปี จึงถือเป็นโอกาสทางการค้ามันสำปะหลังช่องทางใหม่ที่สำคัญของไทย
และนอกจากปัจจัยหนุนจากจีนแล้ว ยังมีปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญ ที่ช่วยหนุนการส่งออกมันสำปะหลังของไทยด้วย เช่น ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้คาดว่าปริมาณมันสำปะหลังส่งออกมีโอกาสเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 11-15 จาก 4.7 ล้านตันในปี 2555 มาที่ประมาณ 5.2-5.4 ล้านตันในปี 2556 ขณะที่คาดว่า ราคาส่งออกมันสำปะหลังของไทย น่าจะทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับปี 2555 (ที่มีค่าเฉลี่ยราว 240.1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อตัน สำหรับมันเส้น และราว 436.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน สำหรับแป้งมัน) และอาจมีโอกาสปรับขึ้นได้บ้างบางจังหวะ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพรวมการส่งออกมันสำปะหลังของไทยในปี 2556 จะมีแนวโน้มขยายตัวตามการนำเข้าจากจีนเป็นหลัก แต่อุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยยังเผชิญความท้าทายและจำเป็นต้องปรับตัว
ทั้งนี้ผู้ส่งออกไทยควรกระจายตลาดเพื่อลดการพึ่งพิงการส่งออกไปจีน ซึ่งสามารถผลักดันการส่งออกไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี เช่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น หลังจากที่จีนเริ่มกระจายแหล่งนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โดยหันไปนำเข้ามันเส้นเพิ่มขึ้นจากเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา และไนจีเรีย ทำให้ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยอาจต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไปขณะเดียวกัน นโยบายของประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งในการส่งเสริมอุตสาหกรรมมันสำปะหลังโดยเฉพาะเวียดนาม มีการพัฒนาในเรื่องของคุณภาพด้าน “มันเส้นสะอาด” มากกว่ามันเส้นไทย และกลายเป็นประเด็นสำคัญในช่วง 1-2 ปีนี้ ถึงแม้ว่า ประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามยังไม่สามารถผลิตมันเส้นเพียงพอต่อความต้องการใช้ในตลาดจีนได้ นอกจากนี้กัมพูชาก็เป็นประเทศคู่แข่งหน้าใหม่ในตลาดจีนที่น่าจับตามอง
นอกจากนี้ มาตรการการนำเข้าของจีน เป็นสิ่งที่ไทยควรให้ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากในระยะหลังจีนเริ่มนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อปกป้องการผลิตในประเทศ และควบคุมปริมาณการนำเข้า?อาทิ มาตรฐานสิ่งแวดล้อม (ฝุ่น สิ่งปลอมปนการลดโลกร้อน) มาตรฐานสุขอนามัยเป็นต้น ดังนั้น ในระยะต่อไป ภาครัฐและเอกชนของทั้งสองประเทศควรหาแนวทางร่วมกัน เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตมันสำปะหลังเส้นให้มีคุณภาพดีขนาดชิ้นของมันเส้นใหญ่ขึ้น และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการส่งออกมันสำปะหลังเส้น เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นระหว่างการขนถ่ายสินค้า อันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบท่าเรือ
และที่สำคัญต้องมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้น จากเดิมที่รูปแบบการใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลังในปัจจุบันยังเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปเบื้องต้น โดยผลิตภัณฑ์ใหม่ดังกล่าว เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ยา เคมีภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ พอลิเมอร์ ที่มีสมบัติดูดซึมของเหลวสำหรับใช้งานด้านอนามัยทางการแพทย์ เป็นต้น อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมันสำปะหลังได้ตั้งแต่ “ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ” ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการปรับตัวของเงินบาทที่มีแนวโน้มผันผวนในทิศทางแข็งค่าได้ในระดับหนึ่ง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การรักษาคุณภาพด้านความสะอาดของมันเส้นเป็นประเด็นที่ไทยควรให้ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศได้ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังเช่นตลาดส่งออกหลักของไทยอย่างจีนที่เริ่มกระจายแหล่งนำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ดังนั้นผู้ส่งออกไทยควรกระจายตลาดเพื่อลดการพึ่งพิงการส่งออกไปจีน ซึ่งอาจแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ขณะที่ “การสร้างมูลค่าเพิ่ม” ให้กับผลผลิตมันสำปะหลังตั้งแต่ “ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ” ถือเป็นกุญแจไขความสำเร็จของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังของไทยที่สำคัญ เพื่อรองรับแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากมันสำปะหลังในอนาคตที่เพิ่มขึ้น
ที่มา : ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า จันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556
ราคาแป้งมันสำปะหลัง
มัลติมีเดีย