Company Logo





พยากรณ์อากาศ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

872372
วันนี้275
เมื่อวานนี้245
สัปดาห์นี้1783
เดือนนี้769
ทั้งหมด872372

ข่าวสมาคมฯ

>>"ประกาศจากกรมการค้าภายใน "รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการชดเชยดอกเบี้ย"... ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศกรม หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติการดำเนินโครงการ ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศ รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ  ดาวน์โหลดไฟล์ หนังสือยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงกา...  --อ่านต่อ--
เข้าร่วมประชุม“การผลักดันขยายตลาดส่งออกสินค้ามันสำปะหลังไทย” ร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นางอ... วันนี้ (17 ธ.ค.67) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 9 กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นายปัญญา บุญบันดาลฤทธิ์ นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ เข้าร่วมประชุม“การผ...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

ข่าวทั่วไป

ชาวไร่มันเฮ! ”พิชัย“ จับมือผู้นำเข้ายักษ์ใหญ่จีนสั...         วันที่ 16 มกราคม 2568 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาการซื้อขาย (Purchasing Order) และบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการไทย และบริษัท COFCO BIOTECHNOLOGY CO.,LTD หน่วยงานนำเข้ายัก...  --อ่านต่อ--
​“พาณิชย์”โชว์ผลงานนำทีมขายมันที่เซี่ยงไฮ้-เฉิงตู ...   กรมการค้าต่างประเทศสรุปผลการนำคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและภาคเอกชน เดินทางไปขยายตลาดมันสำปะหลังที่เซี่ยงไฮ้และเฉิงตู ประสบความสำเร็จเกินคาด ตกลงซื้อขาย 4.4 แสนตัน คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.68 ล้านตัน มูลค่า 5,314.95 ล้านบาท เผยยังสามารถเปิดตลาดใหม่ไปส...  --อ่านต่อ--
“พิชัย” เร่งช่วยเกษตรกรชาวไร่มัน ประสานจีนรับซื้อม... นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งไปยังกรมการค้าภายใน และกรมการค้าต่างประเทศ ให้เร่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรชาวไร่มันผ่านหลายมาตรการ และยังได้เร่งประสานให้ทางการจีนเข้ามาช่วยรับซื้อผลผลิตจากมันสำปะหลังเป็นการเร่งด่วน...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

อุบลฯ ผนึกกำลัง ต้านโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง

วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล (โรงงานผลิตเอทานอล และแป้งมันสำปะหลัง ต.นาดี อ.นาเยีย) ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี / สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 และเกษตรกรชาวไร่มันปะหลังในพื้นที่ตำบลหนองกินเพล อ.วารินชำราบ จำนวน 100 ราย เปิดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังให้ความรู้ และระดมมาตรการป้องกัน นำร่องโครงการตำบลต้านโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ

การอบรมในวันนี้ มุ่งเน้นสร้างความตระหนักให้เกษตรกรเข้าใจ วิธีการจัดการกรณีพบเจอโรคฯ โดยนำร่องอบรมพื้นที่ ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ เนื่องจากเป็นตำบลที่มีการปลูกมันสำปะหลัง และเป็นแหล่งที่มีผู้นำท่อนพันธุ์มาจำหน่ายแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งในจังหวัด พร้อมจะขยายการสร้างความรู้ไปยังพื้นที่ตำบลอื่นๆ ในจังหวัดที่มีการเพาะปลูกมันสำปะหลังในเดือนต่อไป

 

ปัจจุบันสถานการณ์โรคฯ ในจังหวัดอุบลราชธานี ยังไม่เป็นที่น่าวิตก จากการสำรวจของส่วนราชการพบเจอแปลงที่เป็นโรคฯ ที่ต.โซง อำเภอน้ำยืน และต.โคกสะอาด อำเภอน้ำขุ่น จำนวน 2 ราย 20 ไร่ พร้อมมีมาตการจัดการเรียบร้อยแล้ว (ข้อมูลจาก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร) ซึ่งนับเป็นความโชคดีที่อำเภอพื้นที่ภายในจ.อุบลราชธานี ยังไม่พบเจอโรคฯ แต่เพื่อความไม่ประมาท และความยั่งยืนที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจของประเทศ จึงต้องเร่งสร้างการมีส่วนร่วมในการหามาตราการป้องกันไม่โรคเข้ามาในพื้นที่ ด้วยการที่เกษตรกรจะต้องช่วยกัน ร่วมกับมาตราการภาครัฐ ที่ออกมาป้องกันอย่างจริงจัง

โรคใบด่างมันสำปะหลังมีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) สามารถเข้าทำลายมันสำปะหลังได้ทุกระยะการเจริญเติบโต มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ หากพบต้นมันที่เป็นโรคต้องทำลายทิ้งทันที เกษตรกรชาวไร่มันฯ พบอาการของโรคฯ สามารถติดต่อแจ้งได้ที่ เกษตรอำเภอ หรือเกษตรตำบลประจำอำเภอ / เจ้าหน้าที่ของกลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร 081 967 2288

 

ที่มา : สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม

“เฉลิมชัย” อัดงบ 272 ล้านบาท ตัดวงจร โรคไวรัสใบด่างมันสําปะหลัง พื้นที่ 8 จังหวัด

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประชุม ครม.เศรษฐกิจว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแก้ปัญหาโรคไวรัสใบด่างในมันสำปะหลังเกิดจากเชื้อไวรัส เพื่อเกษตรกรจะได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและความเสียหายของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังทั้งระบบ

สำหรับแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่สามารถขายผลผลิตคุณภาพดีได้ โดยชดเชยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ได้รับผลกระทบ ไร่ละไม่เกิน 3,000 บาท และเป็นค่าทำลาย ไร่ละ 3,000 บาท จะดำเนินการทำลายไร่มันสำปะหลังที่ติดโรค โดยการขุด ถอน และฝังดิน โดยตั้งเป้าทำลายไว้ที่ จำนวน 45,399 ไร่ โดยขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินการและเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวแล้ว โดยรวมวงเงินอนุมัติไว้ จำนวน 272ล้านบาท เป็นค่าชดเชย 136ล้านบาท และค่าทำลาย 136 ล้านบาท รวมทั้ง สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณให้กระทรวงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเร่งดำเนินการควบคุม ป้องกัน และยับยั้งการระบาดของโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง ไม่ให้สร้างความเสียหายต่อการผลิตและการค้ามันสำปะหลังของไทย ตลอดจนช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดและต้องถอนทำลายต้นมันสำปะหลังทิ้งด้วย ซึ่งจะมีมาตรการทั้งในระยะสั้น และระยะยาว



ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศรวม 50 จังหวัด จำนวน 523,589 ครัวเรือน พื้นที่กว่า 8.6 ล้านไร่ จึงขอให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ 8 จังหวัดข้างต้น และพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังอื่น ๆ ทั้ง 50 จังหวัด ระมัดระวังโรคดังกล่าว โดยสามารถป้องกันการระบาดได้โดยไม่นำเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์จากต่างประเทศ ยกเว้นมันเส้นและหัวมันสด ที่ไม่ติดเหง้าหรือส่วนขยายพันธุ์มาด้วย เลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่ปลอดโรคและทราบแหล่งที่มา สำรวจแปลงมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอ กำจัดแมงพาหะนำโรค นอกจากนี้ หากพบมันสำปะหลังที่มีอาการข้างต้นให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัดทันที

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังกล่าว เพิ่มเติมอีกว่า การแพร่ระบาดของโรคไวรัสใบด่างในมันสำปะหลังเกิดจากเชื้อไวรัส SLCMV หรือ Sri Lankan Cassava Mosaic Virus ทำให้ใบด่างเหลือง ใบเสียรูปทรง ลดรูปและยอดที่แตกใหม่จะแสดงอาการใบเหลือง ลำต้นแคระแกร็น ส่งผลทำให้ต้นโตไม่เต็มที่ ผลผลิตเสียหาย หลังจากในปีที่ผ่านมาโรคนี้ได้ถูกตรวจพบที่ จ.รัตนคีรี ประเทศกัมพูชา แล้วแพร่เข้ามาในพื้นที่จังหวัดสระแก้วแนวชายแดนติดประเทศกัมพูชา



แม้ว่าจะพยายามจำกัดพื้นที่การระบาด แต่มีสถานการณ์ภัยแล้งเกิดขึ้นชาวไร่มันปลูกมันไปแล้ว 2-3 รอบเสียหายหมด ก็ต้องเริ่มต้นปลูกกันใหม่อีก เกษตรกรต้องการท่อนพันธุ์มันมากขึ้น ส่งผลให้ราคาท่อนพันธุ์ในปีนี้สูงถึง 2-3 บาท/ท่อน ซึ่งการระบาดของโรคนี้ ได้ขยายวงออกสู่จังหวัดข้างเคียง ผ่านการซื้อขายท่อนพันธุ์มัน ดังนั้น อยากขอความร่วมมือจากเกษตรกร ก่อนจะซื้อท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากที่ใด ควรตรวจสอบว่าท่อนพันธุ์นั้นติดโรคหรือไม่ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้การระบาดของโรคลุกลามขยายวงกว้าง โดยพบการระบาดแล้วในพื้นที่ 8 จังหวัดบริเวณแนวชายแดนใกล้กับประเทศกัมพูชา ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สระแก้ว สุรินทร์ ศรีสะเกษ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี

ที่มา :  ผู้จัดการออนไลน์   6 ก.ย. 2562

“จุรินทร์”เคาะงบ 286 ล้าน ชดเชยไร่มัน 3 พันต่อไร่

 

นบมส.เห็นชอบให้ใช้งบกลาง 286 ล้านบาท แก้ปัญหาโรคใบด่างในมันสำปะหลัง ทั้งเพื่อทำลายแปลงที่เกิดโรคระบาดกว่า 45,000 ไร่ และชดเชยความเสียหายให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบไร่ละ 3,000 บาท หลังพบระบาดใน 11 จังหวัด

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง หรือ นบมส.ระบุภายหลังการประชุม(19 ก.ย.62) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการป้องกัน และกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลังตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

 

โดยจะใช้งบกลางวงเงิน 286 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 จ่ายชดเชยใน 2 ส่วนคือการทำลายแปลงที่มีการระบาดและชดเชยให้กับเกษตรกร มีพื้นที่ทั้งหมด 45,400 ไร่ ทั้งนี้ เกษตรกรต้องแจ้งการพบโรคตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562ถึง 30 มิถุนายน 2563 และแปลงมันที่ปลูกต้องขึ้นทะเบียนปลูกมันสำปะหลังปลูกตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 ถึง 30 กันยายน 2562

ส่วนกรณีที่พบต้นพันธุ์ เป็นโรคหลัง 30 กันยายน 2562 ให้กระทรวงเกษตร ฯไปพิจารณาใช้ พ.ร.บ.กักกันพืช ปี 2551เพื่อการควบคุมการระบาด เช่น การประกาศเป็นเขตควบคุมโรค และตามกฎหมายนั้นเจ้าหน้าที่สามารถทำลายมันสำปะหลังที่ปลูกได้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ จะนำเสนอ ครม.เห็นชอบอีกครั้ง เนื่องจากหากเกิดโรคแล้วจะเกิดผลกระทบต่อเกษตรกรมากและจะมีผลกระทบต่อมันสำปะหลังในภาพรวมของประเทศและสุดท้ายจะกระทบต่อปริมาณการใช้ในประเทศและการส่งออกด้วย

ขณะที่กรมส่งเสริมการเกษตร ระบุว่า หากแปลงปลูกมีการระบาดของโรคจะส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย 100 % คาดว่าผลผลิตมันสำปะหลังจะเสียหายประมาณ 160,000 ตัน หรือประมาณ 1% จากพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ 5 ล้านไร่

 

 

“จะมีการจ่ายชดเชย 2 ส่วนคือการจ่ายเงินในการกำจัดต้นมันสำปะงไร่ละ 3,000 บาท วงเงิน 136 ล้านบาทและการจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกรไร่ละ 3,000 บาทวงเงิน 136 ล้านบาท ส่วนอีก 14 ล้านบาทเป็นค่าบริหารจัดการ โดยมีเงื่อนไขจะต้องได้รับคำยืนยันจากกรมวิชาการเกษตรว่าเป็นโรคใบด่างหรือไม่ ส่วนสถานการณ์ราคามันสำปะหลังขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 2 บาท คาดว่าจากผลผลิตที่ลดลงจะส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ราคาแป้งมันสำปะหลัง

                                     อ่านทั้งหมด

     

 



       




Powered by Allweb Technology.