Company Logo





พยากรณ์อากาศ

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

871945
วันนี้93
เมื่อวานนี้249
สัปดาห์นี้1356
เดือนนี้342
ทั้งหมด871945

ข่าวสมาคมฯ

>>"ประกาศจากกรมการค้าภายใน "รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการชดเชยดอกเบี้ย"... ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศกรม หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติการดำเนินโครงการ ดาวน์โหลดไฟล์ ประกาศ รับสมัครผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ  ดาวน์โหลดไฟล์ หนังสือยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงกา...  --อ่านต่อ--
เข้าร่วมประชุม“การผลักดันขยายตลาดส่งออกสินค้ามันสำปะหลังไทย” ร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นางอ... วันนี้ (17 ธ.ค.67) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 9 กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นายปัญญา บุญบันดาลฤทธิ์ นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ เข้าร่วมประชุม“การผ...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

ข่าวทั่วไป

ชาวไร่มันเฮ! ”พิชัย“ จับมือผู้นำเข้ายักษ์ใหญ่จีนสั...         วันที่ 16 มกราคม 2568 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาการซื้อขาย (Purchasing Order) และบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างผู้ประกอบการไทย และบริษัท COFCO BIOTECHNOLOGY CO.,LTD หน่วยงานนำเข้ายัก...  --อ่านต่อ--
​“พาณิชย์”โชว์ผลงานนำทีมขายมันที่เซี่ยงไฮ้-เฉิงตู ...   กรมการค้าต่างประเทศสรุปผลการนำคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและภาคเอกชน เดินทางไปขยายตลาดมันสำปะหลังที่เซี่ยงไฮ้และเฉิงตู ประสบความสำเร็จเกินคาด ตกลงซื้อขาย 4.4 แสนตัน คิดเป็นปริมาณหัวมันสด 1.68 ล้านตัน มูลค่า 5,314.95 ล้านบาท เผยยังสามารถเปิดตลาดใหม่ไปส...  --อ่านต่อ--
“พิชัย” เร่งช่วยเกษตรกรชาวไร่มัน ประสานจีนรับซื้อม... นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งไปยังกรมการค้าภายใน และกรมการค้าต่างประเทศ ให้เร่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรชาวไร่มันผ่านหลายมาตรการ และยังได้เร่งประสานให้ทางการจีนเข้ามาช่วยรับซื้อผลผลิตจากมันสำปะหลังเป็นการเร่งด่วน...  --อ่านต่อ--
Deluxe News Pro - Copyright 2009,2010 Monev Software LLC

​“จุรินทร์”เป็นประธานลงนาม MOU ซื้อขายมันกับฮ่องกง ตุรกี จีน มูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้าน

img

“จุรินทร์”เปิดงานประชุมสัมมนามันสำปะหลังโลกปี 66 โชว์วิสัยทัศน์ดันไทยเป็นคลังมันสำปะหลังป้อนตลาดโลก พร้อมจัดจับคู่ลงนาม MOU ซื้อขายมันสำปะหลังกับฮ่องกง ตุรกี จีน ปริมาณเกือบ 5 ล้านตันหัวมันสด มูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้านบาท หลังทำสำเร็จขายให้ฟิลิปปินส์ไปก่อนหน้านี้ 2 หมื่นล้านบาท  
         
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในการเป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนามันสําปะหลังโลกปี 2566 (World Tapioca Conference 2023) และปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “นโยบายการบริหารจัดการมันสําปะหลังของไทย” ที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี ว่า จังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นเมืองหลวงของมันสำปะหลัง เพาะปลูกและแปรรูปมากที่สุดในประเทศไทย งานนี้มี 5 กิจกรรม ได้แก่ 1.สัมมนาเชิงวิชาการ 2.แลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ด้านการค้ามันสำปะหลัง 3.นิทรรศการมันสำปะหลัง 4.การจับคู่เจรจาธุรกิจ และ 5.การลงนาม MOU ซื้อขายมันสำปะหลังไทยกับต่างประเทศ
         
ทั้งนี้ ในการลงนาม MOU ซื้อขายมันสำปะหลังนั้น ได้ลงนามกับ 3 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง ตุรกี และจีน คิดเป็นปริมาณมันสำปะหลังสดเกือบ 5 ล้านตัน มูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท ถือเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี ที่กระทรวงพาณิชย์ เอกชน ผู้เกี่ยวข้อง และกระทรวงพาณิชย์นำผู้ซื้อจากต่างประเทศมาซื้อมันสำปะหลังไทยล็อตใหญ่ จากก่อนหน้านี้ ได้พาฟิลิปปินส์มาซื้อประมาณ 5 ล้านตันหัวมันสด มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ที่ อ.ปากช่อง โดยปีนี้ขายล่วงหน้าหัวมันสำปะหลังสดได้แล้ว 10 ล้านตัน สร้างเงินให้ประเทศไทยร่วม 40,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ราคามันสำปะหลังปีนี้ดีขึ้น มีช่องทางระบายไปตลาดต่างประเทศ เกิดผลดีกับเกษตรกร
         
นายจุรินทร์กล่าวว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับมันสำปะหลังเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นพืชเกษตรที่ปลูกมากเป็นลำดับที่ 3 ของโลก ประเทศไนจีเรียผลิตประมาณปีละ 63 ล้านตัน คองโกประมาณปีละ 46 ล้านตัน และไทยปีละ 30 ล้านตัน มีเกษตรกร กว่า 500,000 ครัวเรือนทำไร่มันสำปะหลัง และการส่งออกมันสำปะหลัง ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ส่งออกลำดับหนึ่งของโลก ปี 2565 ส่งออกหัวมันสด 37 ล้านตัน ทำเงินให้ประเทศ 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 150,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11%

“ที่ผ่านมารัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผม ได้กำหนดยุทธศาสตร์มันสำปะหลังไทย 5 ปี ตั้งแต่ปี 2564-67 ทั้งการผลิต การตลาด และการแปรรูป เพื่อกำหนดทิศทางที่ชัดเจน พามันสำปะหลังไทยก้าวหน้าในเวทีโลก ด้านการผลิต มีการวิจัยพัฒนา สร้างท่อนพันธุ์ที่มีศักยภาพ ต้านทานโรคใบด่าง ตั้งเป้าผลผลิตไม่น้อยกว่า 5 ตันต่อไร่ ภายในปี 2567 และจะเพิ่มผลผลิตต่อปี จาก 30 ล้านตันเป็น 40 ล้านตัน สนองความต้องการของโลก ด้านการแปรรูป มุ่งเน้นทั้งมันเส้น แป้งมัน สาคู ในอนาคตจะเพิ่มอีกหลายชนิดที่มีศักยภาพและมั่นใจจะครองตลาดโลกมากขึ้น เช่น ไบโอพลาสติก อาหาร เครื่องดื่ม กาว กระดาษ แป้งมันปลอดกลูเตน ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับโลก ด้านการตลาดจะจับมือกับเอกชนเปิดตลาดใหม่ เช่น ฟิลิปปินส์ ที่สำเร็จแล้ว และตุรกี นิวซีแลนด์ นอกจากจีนที่เป็นตลาดหลัก”นายจุรินทร์กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีนโยบายเร่งรัดยกระดับราคามันสำปะหลัง ถือเป็นยุคหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง อดีตกิโลกรัมละบาทกว่า ยุคนี้ ราคาพุ่งต่อเนื่อง 2 ปีเต็ม วันนี้ราคามันสำปะหลังที่เชื้อแป้ง 25% อยู่ที่ 3.15-3.50 บาท/กิโลกรัม (กก.) แต่ถ้าวันไหนราคาตกต่ำกว่ากิโลกรัมละ 2.50 บาท มีประกันรายได้เกษตรกร จ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกร โอนเงินส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ตามรายได้ที่ให้หลักประกันกับเกษตรกรผู้ปลูก เพื่อมีรายได้พอยังชีพ ไม่เลิกการปลูกมันสำปะหลัง และให้ประเทศไทยเป็นคลังมันสำปะหลังป้อนโลกต่อไปในอนาคต

สำหรับการประชุมครั้งนี้ จะเป็นเวทีสำคัญให้ทุกประเทศที่ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ประสบการณ์กำหนดทิศทางอนาคตมันสำปะหลังไทยและโลกต่อไปในอนาคต โดยประเทศไทยพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกประเทศในโลกเกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป และการตลาดมันสำปะหลัง เพราะประเทศไทยมีนโยบาย ทิศทางชัดเจน ในการผลิตมันสำปะหลังคุณภาพและได้มาตรฐานป้อนตลาดโลก และสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมโลกต่อไป

การจัดงานในครั้งนี้ มีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ สมาคมชาวไร่มันสําปะหลังแห่งประเทศไทย สมาคมการค้ามันสําปะหลังไทย (TTTA) สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสําปะหลังไทย (TTPFA) สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสําปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NETTA) และผู้แทนภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม

 

ที่มา : CNN 24 ก.พ. 2566 https://www.commercenewsagency.com/news/5769

“โรคใบด่าง” มันสำปะหลัง ระบาดหนัก 3 ล้านไร่

 

“โรคใบด่าง” มันสำปะหลัง ระบาดหนัก 3 ล้านไร่

แม้ว่าปีนี้จะเป็นปีทองของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เพราะขายได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 4 บาท เกษตรกรหันมาปลูกกันมากขึ้น แต่ตอนนี้กลับเจอปัญหาสำคัญคือ โรคใบด่างมันสำปะหลัง ทำให้ผลผลิตเสียหาย

ล่าสุด ข้อมูลจากทั้ง 4 สมาคมมันสำปะหลัง ออกมาโต้แย้งข้อมูลของภาครัฐว่า มีการระบาดรุนแรงกว่า ที่กรมส่งเสริมการเกษตรรายงาน และขอให้เร่งแก้ปัญหาที่จะกระทบทั้งต่อภาคอุตสาหกรรม การส่งออก และที่สำคัญคือ เกษตรกรกว่า 7 แสนครัวเรือน

วันนี้ (21 ส.ค.2566) นายบุญชัย ศรีชัยยงพานิช ประธานคณะสำรวจติดตามภาวะการผลิตมันสำปะหลังฤดูการผลิตปี 2566/67 ของ 4 สมาคม คือ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย และ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งข้อสังเกตข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร (9 ส.ค.2566) เปิดเผยสถานการณ์ล่าสุดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง พบพื้นที่การระบาด 20 จังหวัด พื้นที่กว่า 61,000 ไร่

 

แต่ข้อมูลของคณะสำรวจติดตามภาวะการผลิตมันสำปะหลังฤดูการผลิตปี 2566-2567 จาก 4 สมาคม คาดการณ์ว่า มีพื้นที่ระบาดมากกว่านี้หลายเท่า

ข้อมูลของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.ได้ประเมินการระบาดโรคใบด่างในปี 2566 ว่า มีพื้นที่แพร่ระบาด 3 ล้านกว่าไร่ มูลค่าความเสียหายกว่า 11,000 ล้านบาท

ทั้ง 4 สมาคม มันสำปะหลัง คาดว่า ผลผลิตในฤดูใหม่ที่จะถึงนี้มีเพียงประมาณ 20 กว่าล้านตัน เท่านั้นจากที่เคยปลูกได้ 30 กว่าล้านตัน ในขณะที่ความต้องการของตลาดมีสูงกว่า 40 ล้านตัน กระทบต่ออุตสาหกรรมแป้งมัน และการส่งออก โดยในปี 2565 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 170,000 ล้านบาท ประเทศไทยอาจสูญเสียรายได้เข้าประเทศหลายล้านบาท

นายบุญชัยระบุว่า ทางสมาคมฯ ได้เรียกร้องให้กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งได้รับรางวัลเลิศรัฐปี 2565 จากการแก้วิกฤติโรคใบด่างมันสำปะหลัง และตั้งข้อสังเกตว่า การรายงานตัวเลขพื้นที่การระบาดที่น้อยกว่าความเป็นจริง อาจเป็นเงื่อนไขให้ได้รับรางวัล และขอให้เร่งตรวจสอบข้อมูลการระบาดที่แท้จริงในปีนี้ เพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

ก่อนที่จะส่งผลกระทบทั้งต่อภาคอุตสาหกรรม การส่งออก และที่สำคัญคือ เกษตรกรกว่า 7 แสนครัวเรือนที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลัง ก็มีความหวังว่าจะขายมันในช่วงที่ราคาดี

 

นายบุญชัยกล่าวต่อว่า โรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย พบครั้งแรก ในเดือนส.ค.2561 เริ่มระบาดเข้าไทยจากชายแดนเพื่อนบ้าน จนถึงปัจจุบันก็ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ และระบาดไปทั่วประเทศแล้วแพร่ระบาดโดยท่อนพันธุ์ที่มีโรค และแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ ไม่มียารักษา ผลผลิตหัวมันสดที่ลดลง ร้อยละ 40-80 และยังไม่มีพันธุ์ต้านทานที่เหมาะสม

ด้านกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับกรมการปกครอง สำรวจโรคใบด่างในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 54 จังหวัด พร้อมขอให้เกษตรกรทำลายต้นมันที่เป็นโรคใบด่าง ส่วนพื้นที่ที่พบการระบาดรุนแรง เกษตรกรควรเว้นช่วงการปลูกมันสำปะหลัง 1 ฤดูการปลูก เพื่อหยุดวงจรการระบาด โดยเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่อื่นที่เหมาะสม

 

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังที่มีแนวโน้มกลับมาระบาดอีกครั้ง ได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง เร่งดำเนินการควบคุมการระบาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งประสานขอความร่วมมือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน เร่งสำรวจพื้นที่ระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เพื่อทราบสถานการณ์การระบาด

เตรียมแนวทางคัดเลือกแหล่งพันธุ์สะอาด เพื่อใช้สำหรับฤดูการปลูกถัดไป โดยอาจคัดเลือกจากพื้นที่ปลูกที่ยังไม่มีรายงานการระบาดในโซนภาคเหนือ หรือในแปลงใหญ่มันสำปะหลังเป็นหลัก และจัดทำคู่มือบริหารจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลัง และจัดประชุมสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน

สำหรับพื้นที่ที่พบการระบาดรุนแรง เกษตรกรควรเว้นช่วงการปลูกมันสำปะหลัง 1 ฤดูการปลูก เพื่อหยุดวงจรการระบาด โดยเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่อื่นที่เหมาะสมกับพื้นที่และสถานการณ์การผลิต

 

เจ้าหน้าที่จะส่งเสริมการใช้พันธุ์สะอาดและทนทานต่อโรคใบด่าง ได้แก่ ระยอง 72 เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 งดใช้พันธุ์อ่อนแอ ได้แก่ พันธุ์ CMR 43-08-89 และพันธุ์ระยอง 11 และจะ ชการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตรที่ได้รับความเดือดร้อนจากโรคใบด่างมันสำปะหลังตามระเบียบกระทรวงการคลัง และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

หากเกษตรกรพบต้นมันสำปะหลังมีอาการของโรคใบด่างให้เร่งทำลายต้นเป็นโรคก่อนที่แมลงหวี่ขาวยาสูบ จะนำไปแพร่ยังต้นอื่น ๆ ต่อ ด้วยการบดสับต้นเป็นโรคใส่ถุงดำมัดปากให้แน่นแล้วนำไปตากแดดจนกว่าต้นมันสำปะหลังจะตาย หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ทราบทันที

ที่มา : https://www.thaipbs.or.th/news/content/330852

ทั้ง 4 สมาคมแป้งมันสำปะหลัง พร้อมหน่วยงานภาครัฐเตรียมแถลงข้อมูลการผลิตและผลกระทบจากโรคใบด่าง

https://www.youtube.com/watch?v=2R-GbHWaNDY


ทั้ง 4 สมาคมแป้งมันสำปะหลัง พร้อมหน่วยงานภาครัฐเตรียมแถลงข้อมูลการผลิตและผลกระทบจากโรคใบด่าง นี่กำลังเป็นปัญหาที่กระทบต่ออุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ที่มีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 1 แสนล้านบาท จับตารอบทิศวิเคราะห์ปัญหานี้จากข้อมูลของหลายภาคส่วน ว่าเกิดอะไรขึ้นกับทั้งภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม
#ThaiPBSEsan#จับตารอบทิศ#ใบด่างมันสำปะหลัง#โรงงานแป้งมันสำปะหลัง#อุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง#ส่งออกแป้งมัน

สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง เปิดตัว 3 สายพันธุ์ใหม่ ต้านไวรัสใบด่าง

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด
 

สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง เปิดตัว 3 สายพันธุ์ใหม่ ต้านไวรัสใบด่าง เล็งชงรัฐบาลใช้งบปีละ 300 ล้าน ติดต่อกัน 7 ปี กำจัดโรคให้สิ้นซาก เอกชน เฮ เชียร์ปลูกทั่วประเทศ รับดีมานด์จีนโตแรง หวังทดแทนนำเข้าวัตถุดิบปีละ 10 ล้านตัน เสริมความมั่นคงอาชีพเกษตรกร ป้องอุตฯ แสนล้านไปต่อ

"โรคใบด่างมันสำปะหลัง"  ที่พบครั้งแรกในไทยตั้งแต่ปี 2561 ยังคงแพร่ระบาดต่อเนื่อง จากท่อนพันธุ์ที่มีโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะไม่มียาป้องกันหรือรักษาโดยตรง ซึ่งหากเป็นแล้วจะมีผลทำให้ผลผลิตหัวมันสดลดลง 40-80% พบมีการระบาดในประเทศแล้วมากกว่า 3 ล้านไร่ เป็นที่มาของมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงถึงความเสียหายรุนแรงของโรคใบด่างต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังของประเทศในแต่ละปี และได้เร่งหาทางหยุดยั้ง

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

 นายจเร จุฑารัตนกุล กรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการและผู้อำนวยการใหญ่ มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นับตั้งแต่เกิดโรคใบด่างฯ ทางมูลนิธิฯ ได้ริเริ่มโครงการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์การนานาชาติมาสำรวจให้คำปรึกษาและจัดประชุมเพื่อถ่ายทอดวิชาการตั้งแต่ปี 2560 และในปี 2561 ได้หารือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อร่วมจัดทำโครงการปรับปรุงพันธุ์ต้านทานและใช้วิธีการควบคุมโรคพืช เพื่อควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลัง เริ่มดำเนินงานในปี 2562 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสถาบันเกษตรเขตร้อนนานาชาติ หรือ IITA จากประเทศไนจีเรีย จำนวน 5 พันธุ์ เพื่อนำมาทดสอบ และขยายพันธุ์

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

ทั้งนี้ได้ผ่านการตรวจสอบและควบคุมจากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร จนได้พันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคใบด่างระดับสูง จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ 1. TME B419 มีชื่อเล่นว่า “อิทธิ 1” 2. IITA-TMS-IBA980581 เรียกว่า “ อิทธิ 2” และ 3. IITA-TMS-IBA920057 เรียกว่า “อิทธิ 3” โดยทั้ง 3 พันธุ์นี้จะได้ขอพระราชทานชื่ออันเป็นมงคลนามจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อไป

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

 

ในส่วนของการให้ผลผลิตและเชื้อแป้งของมันสำปะหลังทั้ง 3 สายพันธุ์ แม้จะไม่สูงเท่ากับพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 แต่ทั้ง 3 พันธุ์ มีความเป็นไปได้สูงสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ในประเทศ ไทยเพื่อนำไปปลูกทดแทนในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอย่างรุนแรง จากการดำเนินโครงการมา 5 ปีได้ประสบความสำเร็จ ได้พันธุ์มาขยายพันธุ์แล้วกว่า 17,000 ต้น

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

 ขณะที่เวลานี้อยู่ในขั้นตอนที่ 2 คือมูลนิธิฯได้รับท่อนพันธุ์จากคณะวิจัยพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำมาลงแปลงนี้ ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงปัจจุบัน จาก 17,000 ต้น ได้มาลงแปลงขยายปลูกเป็น 95,000 ต้น โดยใช้กรรมวิธีต่างๆ เพื่อไปสู่การขยายต้นพันธุ์ให้เร็วที่สุด คาดในปีหน้าจะสามารถเพิ่มเป็น 7 แสนต้นหรือเพิ่มขึ้น 40 เท่าตัว

 

“ต้นพันธุ์ที่จะกระจายออกไปอาจเป็นต้นทุนของเกษตรกร สมัยก่อนต้นพันธุ์ ราคาอยู่ที่ 1.50 บาทต่อต้น แต่ตอนนี้ราคาพันธุ์ต้นละ 3-5 บาท เมื่อทุกคนตระหนักแล้วว่าจำเป็นที่จะต้องเอาพันธุ์ใหม่ไปให้ถึงโดยเร็วที่สุด โดยวิธีการแจกฟรี หรือขายในราคาตํ่า ก็จะมีกำลังมาป้อน เพียงรัฐอุดหนุนปีละ 30 บาทต่อไร่ 10 ล้านไร่ ก็เท่ากับปีละ 300 ล้านบาท สามารถแก้ปัญหาได้เลย อย่างน้อยจะได้พันธุ์มาขยาย 15 ล้านต้นต่อปี”

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

ทั้งนี้หากนโยบายเดินหน้าต่อเนื่องยาว 7 ปี จะแก้ปัญหาโรคใบด่างฯได้สำเร็จ ใช้เงินไม่มาก โดยการได้พันธุ์ใหม่มาเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ จะสำเร็จได้เมื่อพันธุ์มันสำปะหลังใหม่ได้ไปอยู่แปลงเกษตรกรทั่วประเทศ และจะเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมที่โรงงานสามารถนำไปแปรรูปส่งออกต่อได้ โดยขณะนี้ความต้องการของตลาดจีนยังมีสูงดังนั้นทางมูลนิธิฯ จึงได้ประกาศความสำเร็จในเบื้องต้น

 

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

นายธีระ เอื้ออภิธร นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า อุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยวันนี้ค่อนข้างวิกฤตในแง่ผลผลิตจากผลกระทบโรคใบด่าง ซึ่งมันฯ 3 พันธุ์ใหม่ต้านไวรัสใบด่างถือเป็นอีกหนึ่งทางรอด ดังนั้นจะต้องนำพันธุ์เหล่านี้ไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรเร็วที่สุด และฝากทางรัฐบาล รวมทั้งนักวิจัยได้หาพันธุ์ใหม่ๆ ที่ต้านทานโรคและมีเชื้อแป้งสูงเพิ่มเติมด้วย

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

นายสุรพงษ์ แสงศิริพงษ์พันธ์ นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวว่า ทิศทางข้างหน้าชาวไร่มีความเสี่ยงต้องเผชิญปัญหาภัยแล้งที่อาจถาโถมเข้ามาอย่างหนักหน่วงในช่วง 1-2 ปี นับจากนี้ ขณะที่มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น หากใช้ท่อนพันธุ์จากสถาบันฯที่ได้สายพันธุ์มาจากทวีปแอฟริกา ที่ทนต่อภัยแล้งก็จะช่วยลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหายและยังต้านทานโรคใบด่างได้ด้วย

ป้องส่งออกมันสำปะหลังแสนล้านไปต่อ ดัน 3 พันธุ์ใหม่  กู้วิกฤตโรคใบด่างระบาด

ด้านนายดนัยธนิต พิศาลบุตร กรรมการมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมาผลผลิตมันสำปะหลังของไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากปกติใช้ประมาณ 40 ล้านตันต่อปี ผลิตได้ประมาณ 30 ล้านตัน ต้องนำเข้าราว 10 ล้านตันต่อปี ขณะที่ในปีนี้คาดผลผลิตในประเทศจะลดลงเหลือประมาณ 24 ล้านต้น หรือน้อยกว่า ถือเป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งวงการกำลังจับตามอง หากได้พันธุ์ใหม่มาปลูก ทันต่อความต้องการเกษตรกรก็จะลืมตาอ้าปากได้

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,920 วันที่ 7-9 กันยายน พ.ศ. 2566

ราคาแป้งมันสำปะหลัง

                                     อ่านทั้งหมด

     

 



       




Powered by Allweb Technology.