Company Logo
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ www.nettathai.org สนใจสมัครสมาชิก ติดต่อ โทรศัพท์ 0 4421 2370 - 1 โทรสาร 0 4421 2372 E-mail : nettathai@hotmail.com





อัตราแลกเปลี่ยน



พยากรณ์อากาศ

“ธีระ เอื้ออภิธร” ส่งออกมันไปจีนผลิตอาหารสัตว์รุ่ง

ธีระ เอื้ออภิธร



หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2562 ส่งผลให้ความต้องการมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการใช้เพื่อผลิตแอลกอฮอล์ ซึ่งมีความต้องการมากขึ้น สำหรับตลาดส่งออกมันสำปะหลังหลักของไทยยังเป็นตลาดจีน กว่า 90% และด้วยเหตุที่ผลผลิตในประเทศไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้

จึงทำให้ราคามันสำปะหลังเป็นพืชที่มีราคาสูงเกินกว่าราคาประกัน จนรัฐบาลไม่ต้องจ่ายชดเชยโครงการประกันรายได้ ส่วนแนวโน้มการส่งออกปี 2566 “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ นายธีระ เอื้ออภิธร นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตลาดส่งออกมันในจีน

ตลาดส่งออกหลักของมันเส้นไทยยังเป็นตลาดจีน เชื่อว่าการส่งออกปีนี้จะเท่าปีที่ผ่านมาที่ 6.5 ล้านตัน เทียบกับก่อนที่จะมีสถานการณ์โควิด-19 ไทยส่งออกมันเส้นประมาณ 4 ล้านตัน เติบโตมากขึ้น ขณะที่แป้งมันก็คาดว่าจะมีปริมาณเทียบเท่าปีที่ผ่านมาที่ 4.9 ล้านตัน

“จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้จีนมีความต้องการมันสำปะหลังเพื่อนำไปผลิตแอลกอฮอล์ จึงมีการนำเข้ามากขึ้น ก็เป็นอานิสงส์ทำให้ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับปีที่แล้วทางเอกชนเราได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ได้เจรจาเปิดตลาดอาหารสัตว์ในจีน ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จทำให้ไทยส่งออกมันอัดเม็ดไปในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้ 1 ล้านตัน ปีก็น่าจะส่งออกได้ต่อเนื่อง”

แนวโน้มจีนยังมีความต้องการนำเข้ามันจากไทย ขณะนี้ราคาในส่วนแอลกอฮอล์ในจีนปัจจุบันเฉลี่ย 7,000 หยวนต่อตันจากก่อนโควิดเฉลี่ย 4,000 หยวนต่อตัน จากความต้องการมากขึ้นดันให้ราคาตลาดสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อความต้องการเพิ่ม ราคาดี ก็จะทำให้ราคามันสำปะหลังของไทยดีด้วยเช่นกัน ปีนี้ปัญหาราคามันจึงไม่น่าห่วง

รุกตลาดอาหารสัตว์

ที่สำคัญ เรายังได้เปิดเจรจาขยายตลาดส่งออกไปในตลาดอื่นเพิ่มเติม เช่น ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความสนใจที่จะนำเข้ามันสำปะหลังจากไทย แต่ด้วยติดปัญหาผลผลิตน้อยอาจจะไม่สามารถส่งออกได้เพียงพอ ทำให้ผู้ส่งออกต้องรอดูสถานการณ์ รวมไปถึงปัญหาค่าเงินบาทของไทยที่แข็งค่าเร็ว ตอนนี้อยู่ที่ 33 บาทกว่าต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย

“ตลาดซาอุฯก็เป็นตลาดใหม่ที่มีความสนใจที่จะนำเข้าโดยเฉพาะทำอาหารสัตว์ เพราะเลี้ยงอูฐเยอะและต้องการสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ซึ่งสามารถหาได้จากมันสำปะหลัง ทั้งเรายังมีผลวิจัยรองรับว่ามันสำปะหลังเมื่อนำไปทำเป็นอาหารสัตว์มีประโยชน์ ลดการป่วยของสัตว์ สัตว์มีการเจริญเติบโต ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้ดี ที่ผ่านมาจึงทำให้ไทยเปิดตลาดอาหารสัตว์ได้”

ผลผลิตมันปี’66

สถานการณ์ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2565/2566 จากการติดตามคาดว่าผลผลิตจะลดลง จากที่เรามีการประเมินไปก่อนหน้านี้ประมาณ 34.9 ล้านตัน โดยจะลดลงจากนี้ 30-40% เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาฝนตกเยอะ ทำให้เกษตรกรต้องขุดออกมาขาย เพราะหากไม่ขุด โอกาสที่มันจะเน่าก็สูง เชื้อแป้งก็จะต่ำด้วย ประกอบกับช่วงนี้ราคารับซื้อดี ยิ่งทำให้เกษตรกรยิ่งเร่งขุด

แต่มันสำหลังที่ขุดมาก่อนก็เป็นมันอ่อน อายุประมาณ 6 เดือน จากอายุมันที่ควรขุดออกมาขายควรจะมีอายุ 10-12 เดือน รวมไปถึงปีนี้ผลผลิตต่อไร่ก็ต่ำด้วยจากเดิม 3.4-4.0 ตันต่อไร่ แต่ตอนนี้อยู่ที่ 2 ตันต่อไร่

“ช่วงที่ผลผลิตมันสำปะหลังจะออกสู่ตลาดมาก ๆ ในทุกปี ระหว่างเดือนธันวาคม-มีนาคม คาดว่าปีนี้ผลผลิตจะลดลง เห็นได้จากตอนนี้หน้าโรงงานจะมีมันเข้ามาประมาณ 20,000 ตันต่อวัน จากปกติแล้วช่วงที่มันออกสู่ตลาดมาก ๆ จะมีมันเข้าโรงงานประมาณ 40,000-50,000 ตันต่อวัน สำหรับหัวมันสด”

ส่วนความต้องการใช้มันสำปะหลังในตลาดต่อปีอยู่ที่ 47 ล้านตัน ซึ่งประเทศไทยผลิตไม่เพียงพอก็ต้องนำเข้าจากเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว และกัมพูชา ซึ่งทั้งสองประเทศนี้จะให้ผลผลิตออกช่วงเดียวกับของประเทศไทย จึงมีการนำเข้าผ่านชายแดน ส่วนใหญ่ผ่านจังหวัดอุบลฯ สุรินทร์ และศรีสะเกษ แต่นำเข้าได้ไม่กี่ด่านเพื่อการตรวจสอบคุณภาพของมันที่นำเข้าด้วย

ราคามันทะลุ 3 บาท/กก.

ราคามันสำปะหลังในปีนี้ ยังเป็นราคาที่สดใสสำหรับเกษตรกร โดยราคารับซื้อปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 3 บาทกว่าต่อกิโลกรัม ในเชื้อแป้งอยู่ที่ 25-30% หากเกษตรกรนำมันอ่อนมาขาย ราคาก็จะตกเพราะเชื้อแป้งไม่ได้ ซึ่งเชื้อแป้งจะอยู่ที่ 18-20% ส่วนต้นทุนการเพาะปลูกของเกษตรกรตอนนี้เฉลี่ยที่ 2.30-2.50 บาทต่อกิโลกรัม จากค่าแรง ค่าน้ำมัน ปุ๋ยแพงขึ้น แต่ด้วยความต้องการเพิ่มขึ้นจากปัญหาการแพร่ระบาดของงบฯโควิด-19 ทำให้ราคามันดี เกษตรกรจึงขายได้ราคา

“โครงการประกันรายได้มันสำปะหลังที่ 2.50 บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคารับซื้อดี ปีที่ผ่านมาเกินกว่าประกัน รัฐบาลไม่ได้จ่ายเงินส่วนต่างในโครงการแต่อย่างใด และเชื่อว่าราคามันปีนี้ก็ยังมีแนวโน้มที่ดีเช่นกัน คาดว่าจะสดใสตลอดทั้งปี เทียบกับราคาข้าวโพดอยู่ที่ 12 บาทต่อกิโลกรัม”

วอนรัฐช่วยเหลือ

ด้านการตลาดและราคามันสำปะหลังปีนี้ เป็นปีที่สดใสและมีแนวโน้มดี ดังนั้นต้องการให้รัฐเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนการสำรวจโรคใบด่าง เพราะมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข ปัจจุบันมีการสำรวจว่ามีกระจายในหลายพื้นที่ และหวั่นว่าหน้าร้อนปีนี้จะกลับมาแพร่กระจายอีกครั้ง รณรงค์การปลูกมันสะอาด ไม่เอามันที่ติดโรคมาปลูก แจกท่อนพันธุ์ ส่งเสริมงานวิจัย เพิ่มผลผลิตต่อไร่ รวมไปถึงด้านการตลาด หาตลาดใหม่ ๆ

พร้อมกันนี้ก็ติดตามและเข้มงวดในการลักลอบนำเข้ามันจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะนำเข้ามาในรูปแบบกองทัพมด ก็ต้องเข้มงวดมากขึ้น ดูแลมันที่ได้คุณภาพทั้งในประเทศ และมันที่นำเข้า ปัจจุบันหน่วยงานที่ดูแลก็ติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นผลดีต่อการส่งออกมันไทย

“เชื่อว่าปีนี้เกษตรกรขายมันได้ราคาตลอดทั้งปี การส่งออกขยายตัวจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น แต่เพื่อที่จะให้การส่งออกดี ทุกฝ่ายต้องควบคุมดูแลคุณภาพ เพื่อการส่งออกที่เติบโต”

ที่มา : 

 วันที่ 22 มกราคม 2566

“จุรินทร์”เผย 3 ฝ่าย นัดประชุมร่วม ถกแก้ปมราคาอาหารสัตว์พุ่ง 23 มี.ค.นี้






“จุรินทร์”เผย 3 ฝ่าย รัฐ เกษตรกร ผู้ประกอบการ นัดประชุม 23 มี.ค.นี้ หาทางออกผลกระทบราคาอาหารสัตว์ ยึดหลักทุกฝ่ายอยู่ได้ หลังต้นทุนวัตถุดิบพุ่ง ทั้งข้าวโพดและข้าวสาลี เตรียมเคลียร์ปมมาตรการ 3 ต่อ 1 จะเอายังไง ก่อนชงคณะกรรมการที่ดูแลไฟเขียว และเข้า ครม. แย้มมาตรการ 3 ต่อ 1 ปรับแน่ สัดส่วนเท่าใด ต้องคุยก่อน พร้อมกำหนดปริมาณนำเข้า

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 23 มี.ค.2565 จะมีการประชุมร่วม เพื่อพิจารณาเรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์ ระหว่างส่วนราชการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรมี 2 ส่วน คือ 1.ชาวไร่ข้าวโพด ชาวไร่มันสำปะหลัง 2.ปศุสัตว์ ที่มีผลกระทบเรื่องต้นทุนอาหารสัตว์สูง ทำให้ราคาเนื้อสัตว์มีต้นทุนสูงขึ้น และผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งจะต้องหารือให้มีข้อยุติร่วมกัน และให้ได้ทางออกในเรื่องนี้
ทั้งนี้ ในปัจจุบันต้นทุนอาหารสัตว์ ขึ้นอยู่กับ 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1.ราคาข้าวโพดที่สูงขึ้นเป็นกิโลกรัม (กก.) ละ 10 กว่าบาท จาก กก. ละ 6-8 บาท และที่สำคัญข้าวสาลีในตลาดโลกราคาสูงขึ้นมาก เพราะผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก คือ ยูเครน กระทบมาก ทำให้ต้นทุนนำเข้าข้าวสาลีสูงขึ้นมาก ต้องมาดูว่ามาตรการเดิมที่กำหนดช่วยชาวไร่ข้าวโพด ที่การนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน หรือมาตรการ 3 ต่อ 1 ในสถานการณ์นี้ ยังมีความเหมาะสมหรือไม่

“เบื้องต้น มีความเห็นควรผ่อนมาตรการนี้เป็นการชั่วคราว เพื่อไม่ให้ต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นจนเกินไป และกระทบราคาเนื้อสัตว์ต่าง ๆ แต่ยังมีความเห็นไม่สอดคล้อง จึงต้องคุยกันให้จบ เพื่อไม่แก้ปัญหาหนึ่ง แล้วไปสร้างอีกปัญหาหนึ่ง วันที่ 23 มี.ค.2565 จะมีการคุยกันอีกครั้ง ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินหน้ากระบวนการอย่างไร เช่น นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) รวมถึงเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็จะดำเนินการต่อไปโดยเร็ว”นายจุรินทร์กล่าว

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า แนวทางในการดูแลราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ขณะนี้มีมาตรการที่เสนอมาโดยผู้ผลิตอาหารสัตว์ 3 มาตรการ คือ การปรับลดสัดส่วนของมาตรการ 3 ต่อ 1 การเปิดให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO) และเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยยกเลิกโควตาภาษีและค่าธรรมเนียม และการยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% ซึ่งจะมีการพิจารณารายละเอียดมาตรการต่าง ๆ อีกครั้ง ก่อนที่จะนำเสนอให้คณะกรรมการที่ดูแลแต่ละชุดพิจารณา หากเป็นเรื่องมาตรการ 3 ต่อ 1 ก็ต้องเข้า นบขพ. แต่ถ้าเป็นการลดภาษีนำเข้า ก็ต้องเข้าคณะกรรมการนโยบายอาหาร โดยมีหลักการว่าทุกมาตรการจะเป็นมาตรการระยะสั้น และไม่ส่งผลกระทบในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม มาตรการที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด ก็คือ การปรับลดสัดส่วนของมาตรการ 3 ต่อ 1 ซึ่งจะมีการพิจารณาว่า จะปรับลดสัดส่วนลงเท่าใด อาจจะเป็น 2 ต่อ 1 หรือ 1 ต่อ 1 หรือยกเว้นชั่วคราว และจะต้องมีการกำหนดปริมาณการนำเข้าว่าไม่ควรเกินเท่าใด โดยพิจารณาจากปริมาณความต้องการใช้ของทั้งปี และผลผลิตที่มีอยู่ในประเทศ ส่วนการนำเข้าภายใต้ WTO และ AFTA ปัจจุบันองค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้าได้ทั้งปี ผู้นำเข้าทั่วไป นำเข้าได้ช่วง ก.พ.-ส.ค. ก็ต้องดูว่าจะปรับเงื่อนไขหรือไม่ และการลดภาษีกากถั่วเหลือง ต้องดูผลระยะยาวว่าหากลดภาษีแล้ว จะส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกลงหรือไม่ เพราะปัจจุบัน ไทยมีการปลูกถั่วเหลืองน้อยกว่าความต้องการอยู่แล้ว และกระทบต่อรายการของกระทรวงการคลังหรือไม่


สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย บอยคอต ลาประชุมผ่อนปรนมาตรการ นำเข้าข้าวสาลี 3:1 “พรศิลป์” นายสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย บอยคอต ลาประชุมผ่อนปรนมาตรการนำเข้าข้าวสาลี 3:1 กรมการค้าภายใน แจ้งเลื่อนประชุมไม่มีกำหนด

 
 
 
 
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ส่งหนังสือด่วนที่สุด เลขที่ สผ. 0352 / 2565 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2565 เรื่อง แจ้งลาประชุมหารือเพื่อแก้ไขและผ่อนคลายปัญหาราคาสินค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ถึง อธิบดีกรมการค้าภายใน ตามที่ กรมการค้าภายในได้มีหนังสือเชิญประชุมหารือเพื่อแก้ไขและผ่อนคลายปัญหาราคาสินค้าวัตถุดิบ อาหารสัตว์ โดยมีกำหนดในวันที่ 23 มีนาคม 2565 เวลา 1 3.00 น. และขอปรับเปลี่ยนเวลาประชุมเป็น 15.00 น.
โดยการประชุมครั้งนี้จะเป็นการประชุมต่อเนื่องจากการประชุมกับท่านปลัดกระทรวงพาณิชย์และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ซึ่งจะพิจารณากำหนโควต้าจำนวนนำเข้าข้าวสาลีภายใต้การผ่อนปรนมาตรการนำเข้าข้าวสาลี 3:1 ส่วนนั้น
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ขอเรียนท่านว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา สมาคมชาวไร่มันสำปะหลัง สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสมาคมการค้าพืชไร่ ได้ออกข่าวไม่เห็นด้วยกับการผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวและมีข้อสอบถามต่าง ๆ ซึ่งเป็นคำถามเดิมที่ได้มีการชี้แจงไปแล้วในหลายเวที และบางคำถามกรมการค้าภายในมีข้อมูลอยู่แล้ว
การให้ข่าวดังกล่าวจะเป็นการสร้างบรรยากาศที่ขัดแย้งต่อที่ประชุม และทำให้การประชุมไม่มีข้อยุติคล้ายกับบรรยากาศการประชุมกับท่านปลัดทั้งสองกระทรวงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมาในการนี้ เพื่อไม่ให้เกิดบรรยากาศขัดแย้งดังกล่าว สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย จึงขอลาการประชุมในครั้งนี้
หากกรมการค้าภายในมีข้อสอบถามข้อมูลอื่นใดเพิ่มเติมสมาคมยินดีที่จะทำหนังสือตอบคำถามไปยังท่านโดยตรงเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาต่อไป ทั้งนี้สมาคมเห็นว่าการพิจารณาผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวเป็นอำนาจของรัฐท่านสามารถตัดสินใจได้จากข้อมูลที่ท่านมีอยู่ได้
จากหนังสือดังกล่าวนี้เอง ทำให้ กรมการค้าภายใน แจ้งเลื่อนประชุมไม่มีกำหนด


“จุรินทร์” เร่งประชุมร่วม 3 ฝ่าย ลดผลกระทบราคาอาหารสัตว์พุ่ง จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เน้นทุกฝ่ายอยู่ได้ ย้ำราคาสินค้าสำคัญ 18 หมวดยังไม่ขึ้น

จุรินทร์ เร่งประชุมร่วม 3 ฝ่าย ลดผลกระทบราคาอาหารสัตว์พุ่ง

“จุรินทร์” เร่งประชุมร่วม 3 ฝ่าย ลดผลกระทบราคาอาหารสัตว์พุ่ง จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เน้นทุกฝ่ายอยู่ได้ ย้ำราคาสินค้าสำคัญ 18 หมวดยังไม่ขึ้น

วันที่ 22 มีนาคม 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำหรับปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ตนเร่งให้ประชุมทุกฝ่าย วันพรุ่งนี้ (23 มี.ค. 2565) เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางแก้ไขร่วมกัน

โดยผู้เข้าร่วมมีทั้งส่วนราชการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรมี 2 ส่วน 1.ชาวไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง 2.ปศุสัตว์ ที่มีผลกระทบเรื่องต้นทุนอาหารสัตว์สูง ทำให้ราคาเนื้อสัตว์มีต้นทุนสูงขึ้น และผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ผลิตอาหารสัตว์ต้องหารือให้มีข้อยุติร่วมกัน

เพราะต้นทุนอาหารสัตว์ขึ้นอยู่กับ 2 ส่วนสำคัญ 1.ราคาข้าวโพดที่สูงขึ้นขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 10 กว่าบาท จากกิโลกรัมละ 6-8 บาท และที่สำคัญข้าวสาลีราคาสูงขึ้นมากในตลาดโลก เพราะผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่ของโลกคือ ยูเครนกระทบมาก ทำให้ต้นทุนนำเข้าข้าวสาลีสูงขึ้นมาก ต้องมาดูว่ามาตรการเดิมที่กำหนดช่วยชาวไร่ข้าวโพดไว้ที่นำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วนต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน

หรือมาตรการ 1:3 ในสถานการณ์นี้ยังมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งมีความเห็นผ่อนมาตรการนี้เป็นการชั่วคราวเพื่อไม่ให้ต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นจนเกินไปและกระทบราคาเนื้อสัตว์ต่าง ๆ แต่ยังมีความเห็นไม่สอดคล้องจึงต้องคุยกันให้จบ เพื่อไม่แก้ปัญหาหนึ่งแล้วไปสร้างอีกปัญหาหนึ่ง ก่อนเสนอเข้าให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณา และเสนอเข้า ครม. ดำเนินการต่อไป

ขณะนี้ที่การกำกับราคาสินค้า ยังอยู่ในระดับที่ดี คือราคาสินค้าหลายตัวที่จำเป็นต่อการอุปโภค-บริโภค ยังทรงอยู่ทั้ง 18 หมวดโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ยังไม่ขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น หมูเนื้อแดงเฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 151 บาท ล่าสุดเมื่อวาน (21 มี.ค. 2565) ไข่ไก่เบอร์ 3 ฟองละ 3.50-3.60 บาท มะนาวราคาเฉลี่ยทั้งประเทศลูกละ 5 บาท เนื่องจากเข้าหน้าแล้ง จะเป็นทุกครั้งและมาเจอกับพายุเมื่อไม่กี่วันทำให้ลูกร่วงเป็นประเด็นปัญหาทำให้มะนาวในตลาดลดน้อยลง เป็นช่วงระยะเวลาที่เป็นกรณีเฉพาะ ไม่ใช่ถาวร
สำหรับต้นทุนราคาสินค้าขึ้นอยู่กับสงครามรัสเซีย-ยูเครน เป็นต้นเหตุของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก เกี่ยวพันถึงต้นทุนการผลิตอื่น ๆ ทั้งหมด ในเรื่องการนำเข้าวัตถุดิบทั้งอาหารสัตว์ ปุ๋ยสูงตามขึ้นไปทั้งหมด ไม่เกิดเฉพาะบ้านเรา

“เราพยายามจะคลี่คลายตามสิ่งที่เราทำได้เต็มที่และพยายามดูมาตรการผ่อนคลายให้ทั้ง 3 ฝ่าย เกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้บริโภคอยู่ด้วยกันได้ภายใต้ภาวะการสงครามที่เกิดขึ้น ถ้าสงครามคลี่คลายตนคิดว่าทุกอย่างจะกลับมาอยู่ในสภาพที่ดีขึ้น”

ที่มา : ข่าวประชาชาติธุระกิจ






Powered by Allweb Technology.